นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประวัติและผลงานของ คาโรลุส ลินเนียส : Carolus Linnaeus
คาโรลุส ลินเนียส : Carolus Linnaeus
เกิด วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 ที่ประเทศสวีเดน (Sweden)
เสียชีวิต วันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1778 ที่ประเทศสวีเดน (Sweden)
ผลงาน - จำแนกสัตว์และพืชออกเป็นหมวดหมู่
- ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้กับพืช และสัตว์
ลินเนียสเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ที่จำแนกพืชและสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์ ชีวภาพมีความชัดเจน และสะดวกสำหรับการศึกษาต่อไป
ลินเนียสเกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 ที่ประเทศสวีเดน บิดาของเขาเป็นพระสอนศาสนา ลินเนียสเป็นคนรักต้นไม้เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาธรรมชาติ อีกทั้งลินเนียสยังได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพืชชนิดต่าง ๆ มาจากบิดาอีกด้วยทำให้เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับพืชมากขึ้น ลินเนียสได้รับการศึกษาขั้นแรกจากครูที่บิดาของเขาจ้างให้มาสอนที่บ้าน แต่เรียนอยู่ได้เพียง 2 ปี เท่านั้น ก็ต้องเลิกไป หลังจากนั้นบิดาจึงส่งลินเนียสไปเรียนในตัวเมืองซึ่งห่างออกไปจากบ้านเขาประมาณ 25 ไมล์ต่อจากนั้นลินเนียสได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยลุนด์ ในคณะแพทย์ เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยลุนด์ได้เพียง 1 ปี ก็ย้ายไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวิก ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งนี้เอง ในระหว่างที่ลินเนียสศึกษาวิชาแพทย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวิก เขาได้ใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับพืชและสัตว์
ในปี ค.ศ. 1730 ลินเนียสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ ซึ่งศาสตราจารย์ท่านนี้ได้มอบทุนให้กับลินเนียสเพื่อเดินทางออกสำรวจดินแดน แลป แลนด์ (Lap Land) ลินเนียสได้ออกเดินทางในปี ค.ศ. 1732 เขาใช้เวลาในการสำรวจประมาณ 1 ปี โดยเดินทางสำรวจตลอดคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) รวมระยะทาง 4,600 ไมล์ ซึ่งลินเนียสได้พบกับพันธุ์พืชใหม่ ๆ กว่า 100 ชนิด ต่อมาในปี ค.ศ. 1737 ลินเนียสได้เขียนสิ่งที่เขาพบเห็นจากการ สำรวจครั้งนี้ลงในหนังสือชื่อว่า Flora Laponida ไปตามสถานที่ต่าง ๆ อีก
ต่อมาในปี ค.ศ. 1735 ลินเนียสได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Systema Nationra ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจำแนก ลักษณะและแบ่งชั้นทั้งของพืชและสัตว์ ออกเป็นตระกูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งลินเนียสได้ทำพันธุ์พืชและสัตว์ทุกชนิดรวมถึงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว หรือสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ด้วย โดยเขาใช้วิธีการที่เรียกว่า "Linnaean Classification"
ลินเนียสได้ออกเดินทางสำรวจไปตามสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งเขียนหนังสือเกี่ยวกับธรรมชาติอีกหลายเล่ม ได้แก่ ในปี ค.ศ. 1736 ลินเนียสได้พิมพ์หนังสือชื่อว่า Biologica Botanica ในปีต่อมาเขาได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อว่า General Plantarum หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์พืช ตามลักษณะของพันธุ์พืช และในปีต่อมาเขาได้ตีพิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Classes Plantarum ในปี ค.ศ. 1738 ลินเนียสได้เดินทางกลับบ้านที่ประเทศสวีเดน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาแพทย์ และประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ประจำมหาวิทยาลัยอัปซาลา (Upsala University) อีกทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของกษัตริย์แห่งสวีเดนอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1742 ลินเนียสได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และรัฐบาลสวีเดนได้ส่งลินเนียสไปสำรวจ ทิโอแลนด์ (Tio Land) และสก็อตแลนด์ (Scotland) หลังจากเดินทางกลับ ลินเนียสได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า OlandscatochCortland Skatesa ซึ่งตีพิมพ์ออกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1745 พร้อมกับหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Flora Suecica
ในปี ค.ศ. 1746 ลินเนียสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอัปซาลา ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เขาได้นำพันธุ์พืชชนิดใหม่ ๆ มาปลูกไว้ในสวนจำนวนมากกว่า 1,200 ชนิด พร้อมกับเขียนอธิบายถึงพันธุ์พืชภายในสวนฤกษศาสตร์อย่างละเอียด ลงในหนังสือชื่อว่า Hortus Upsaliensis
ต่อมาในปี ค.ศ. 1753 ลินเนียสได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Species Plantarum ตั้งชื่อพืชและสัตว์เหล่านี้เป็นภาษาละติน ซึ่งรู้จักกันในปัจจุบันว่าชื่อทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ชื่อ ชื่อแรกบอกตระกูล (Genus) ส่วนชื่อหลังบอกชนิด (Species) วิธีการจัดหมวดหมู่ของลินเนียสทำให้นักชีววิทยาสามารถจดจำชื่อชนิดของสัตว์ และของพืชได้ง่ายขึ้นอีกทั้งสะดวกต่อการค้นค้าต่อไป วิธีการนี้ต่อมาเป็นที่นิยมแพร่หลายในทวีปยุโรปอย่างรวดเร็ว และนิยมต่อมาจนถึงปัจจุบันอีกทั้งเขายังเป็นผู้ที่กำหนดสัญลักษณ์แทนเพศ คือ หมายถึง เพศผู้ และ หมายถึง เพศเมีย
ลินเนียสเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อเก็บสะสมพืช และสัตว์พันธุ์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อลินเนียสเสียชีวิตในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1778 สิ่งที่เขาสะสมไว้คือ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ รวมทั้งหนังสือ ได้ถูกขายให้กับนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษผู้หนึ่ง ซึ่งนักพฤกษศาสตร์ท่านนี้ได้นำไปทำการศึกษาเกี่ยวกับพืชและสัตว์ โดยตั้งชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า English Biological Association หรือ Linnaeus Society สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele
คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele
เกิด ค.ศ. 1742 ที่สตารล์สัน โพมีราเนีย ประเทศสวีเดิน
เสียชีวิต 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ประเทศสวีเดิน
ผลงาน - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric)
- ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine)
- ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine)
เชย์เลอร์เป็นนักเคมี 1 ใน 3 ของนักเคมีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น อีก 2 ท่าน คือ เฮนรี่ คาเวนดิช (Henry Cavendish)และโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestly) นักเคมีทั้ง 3 ค่อนข้างจะมีลักษณะงานค้นคว้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่าง ๆ กันไปตามธาตุที่ค้นพบ โดยเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่ค้นพบก๊าซไนโตรเจน และคลอรีน
เชย์เลอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1742 ที่ประเทศสวีเดิน บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่ค่อนข้างยากจนและต้องการให้เชย์เลอร์ดำเนิน
กิจการต่อ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์น้อยมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี อีกทั้งเขามีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการปรุงยาอยู่หลายปีและหลายแห่ง เช่น ที่โกเตเบิร์ก (Goteburg) มัลโม (Mulmo) สตอกโฮล์ม (Stockholm) อัปซาลา (Upsala) และโคปิง (Koping) ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมีมากขึ้น
เชย์เลอร์ทำการทดลองด้านเคมีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเขาพบก๊าซพิษ (Poisonous) ซึ่งเขาค้นพบระหว่างการทดลองทางเคมีครั้งหนึ่ง ก๊าซพิษที่ว่านี่คือ ก๊าซกรดพรัสซิค (Prussic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ กรดไซยาไนด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่มีฤทธิ์ร้านแรงมากถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิตได้แม้จะสูดดมเข้าไปเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้เชย์เลอร์ยังค้นพบสารเคมีชนิดใหม่อีกหลายชนิด เช่น กรดสารหนู (Arsenic acid) กรดออกซาลิก (Oxalic acid) กรดแลกติก (Lactic acid) ซึ่งสกัดได้จากนมเปรี้ยว ไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric acid) กรดกำยาน (Benzoic acid) กรดมาลิก (Malic acid)กรดมะนาว (Citric acid) กรดแกลลิก (Gallic acid) เป็นต้น ก๊าซที่สำคัญที่เชย์เลอร์พบมีอีกหลายชนิด ได้แก่
- ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric) เป็นกรดปูนชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์ในการทำน้ำส้ม
- ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine) มีสีเขียวปนเหลือง และมีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นสารฟอกสี และไนโตรเจน (Nitrogen)
- ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine) ใช้ประโยชน์ในการทำวัตถุระเบิด, วิธีผสมยาฆ่าเห็ดรา ซึ่งประกอบไป
ด้วยสารหนู และสารประกอบระหว่างทองแดง (Copper) เชย์เลอร์ได้ตั้งชื่อยาฆ่าเห็ดราชนิดนี้ว่า ชาเลกรีน
(Scheel's Green), พบก๊าซมีเทน (Methane) เป็นสารประกอบของไฮโดรคาร์บอน (Hydro carbon)
กับอัลเลน ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ติดไฟได้ มีประโยชน์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก, ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างไนโตรเจน และไฮโดรเจน แอมโมเนียเป็นก๊าซที่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในทาง อุตสาหกรรมไฟฟ้า และใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ อีกทั้งมีประโยชน์ในทางการแพทย์
จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาในปี ค.ศ. 1775 เชย์เลอร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งเมืองสตอกโฮม (Stockholm Academy of Science) และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
เชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่มีความพยายาม เขาสามารถค้นพบสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากมายเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม
ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 44 ปี เท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล : Gregor Mendel
เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล : Gregor Mendel
เกิด วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
เสียชีวิต วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองเบิร์น (Brunn) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
ผลงาน - ค้นพบลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
- ให้กำเนิดวิชาพันธุศาสตร์ (Genetices)
เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)
เมนเดลเกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย ครอบครัวของเขาอยู่ในฐานะดีแต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งนักบิดาของเขาเป็นเกษตรกร ทำให้เมนเดลมีความรู้เกี่ยวกับพืชเป็นอย่างดีเมนเดลเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนมัธยมในเมืองทรอปโป (Troppau) ในระหว่างนี้ครอบครัวเขายากจนลงทำให้เมนเดลต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงานภายในฟาร์ม ทั้งต่อมา บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบครัวจึงตกลงขายที่ดิน และนำเงินมาแบ่งกันน้องสาวของเขาเห็นว่า เขามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการศึกษาจึงมอบเงินส่วนของเธอให้กับเมนเดลเพื่อศึกษาต่อ แต่ถึงอย่างนั้นเงินที่มีอยู่ก็ยังคงไม่เพียงพอและจากความช่วยเหลือสนับสนุนจากครูผู้หนึ่ง ในปี ค.ศ.1843 เมนเดลจึงได้บวชเป็นเณรในสำนักออกัสทิเนียน(Augustinion Order) ที่เมืองบรูโน (Bruno) ต่อมาเมนเดลได้สอบเข้าโรงเรียนในเมืองบรูโน แต่ก็ไม่สามารถสอบเข้าได้ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอยู่หลายครั้ง ดังนั้นเมนเดลจึงได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยโอลมุทซ์ (Olmutz College) ในที่สุดเมนเดลก็สำเร็จการศึกษา หลังจากจบการศึกษาเมนเดล ได้บวชเป็นพระอยู่ที่วิหารออกัสทิเนียนนั่นเอง และได้รับฉายาว่า เกรเกอร์หน้าชื่อของเขาเป็นเกรเกอร์โจฮันน์ เมนเดล
แม้ว่าเมนเดลจะไม่ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติตาที่เขาได้ตั้งใจไว้แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการค้นคว้างานด้านนี้ นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1862 เขายังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง Natural Science Society ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการศึกษางานด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติมากสถาบันหนึ่ง
จากการที่เมนเดลเคยทำงานในฟาร์มมาก่อนทำให้เขามีความรู้ด้านพืชเป็นอย่างดีเมนเดลได้ปลูกพืชพันธ์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในสวนหลังโบสถ์ที่มีเนื้อที่เพียง ? เอเคอร์ เท่านั้นเขาเริ่มสังเกตุเห็นความแตกต่างของต้นไม้แต่ละต้นทั้งที่เกิดจาก ต้นกำเนิดเดียวกันและต่างพันธุ์กันดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และเริ่มทำการทดลอง ในปี ค.ศ. 1865 เมนเดลได้เริ่มต้นทำการทดลองเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร เขาได้ทำการทดลองโดยใช้ต้นถั่วในการทดลอง เนื่องจากต้นถั่วเป็นพืชล้มลุก ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น และมีพันธุ์ที่แตกต่างกันมากมายหลายพันธุ์ เช่น ชนิดต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ส่วนเมล็ดบางชนิดสีเขียว สีเหลือง และสีน้ำตาล ดังนั้นดอกก็ย่อมมีสีที่ แตกต่างกันด้วย เช่นกัน คือ ดอกบางชนิดสีขาว สีม่วงแกมแดง ซึ่งลักษณะของดอกต้นถั่วนี้คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดเนื่องจากดอกของต้นถั่วซึ่งเรียกกันตามลัษณะทางพฤษศาสตร์ว่า ดอกสมบูรณ์เพศ (Rerfect flowered) คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ย่อมเป็นการง่ายต่อการนำมาทดลองซึ่ง ในขั้นต้นเมนเดลได้หว่านเมล็ดพืชลงบริเวณแปลงทดลอง ในเรือนเพาะชำ และปล่อยให้ต้นถัวผสมพันธ์และเจริญเติบโตกันเองตามธรรมชาติ จากผลการทดลองพบว่าต้นถั่วมีขนาดไม่เท่ากันบางต้นสูง บางต้นเตี้ย อีกทั้งเมล็ดก็มีสีต่างกัน บางต้นเหลืออ่อน บางต้นสีน้ำตาล การทดลองครั้งแรกจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมนเดลไม่สามารถหาข้อสรุปได้
จากนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง โดยการใช้กระดาษห่อดอกที่ต้องการผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการผสมพันธุ์กันเอง จากนั้นเอมเดลได้คัดเลือกเกสรของพันธ์ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่มากถึง 7 พันธุ์ มาผสมข้ามพันธุ์กัน โดยการทดลองครั้งนี้เมนเดลได้มุ่งประเด็นไปที่ความสูงและความเตี้ยของต้นถั่วเป็นสำคัญ เมนเดลนำเกสรตัวผู้ของต้นสูง มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นเตี้ย จากผลการทดลองปรากฏว่าได้พันธุ์ทาง (Hybrid) ที่มีต้นเตี้ยและต้นสูง แลไม่มีต้นที่มีความสูงระดับปานกลางจากนั้นเขาจึงทำให้การทดลองต่อไปโดยการสลับกัน คือ นำเกสรตัวผู้ของต้นเตี้ย มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นสูง จากนั้นเขาได้สลับไปมาระหว่างต้นสูง และต้นเตี้ยกว่า 10 ครั้ง ทำให้เมนเดลมีเมล็ดถั่วจำนวนมาก เมนเดลได้นำเมล็ดถั่วมาทดลองปลูกปรากฏว่าต้นถั่วชุดแรกได้พันธุ์สูงทั้งหมด ตามลักษณะเช่นนี้เมนเดลได้สันนิษฐานว่า พันธุ์ต้นสูงเป็นลักษณะพันธุ์เด่นที่ข่มพันธ์เตี้ยซึ่งด้อยกว่าไว้
จากนั้นเมนเดลได้ปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธุ์กันเอง และเมื่อเมนเดลเก็บเมล็ดถั่วมาปลูกในปีต่อมา ผลปรากฏว่าในจำนวน 1,064 ต้น เป็นต้นสูง 787 ต้น ต้นเตี้ย 277 ต้น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทำให้เมนเดลเกิดความสงสัยเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไปในครั้งที่ 3 ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับครั้งแรกและครั้งที่ 2 คือ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ผลปรากฏว่าได้พันธุ์แท้ตามลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ คือ ต้นสูงได้ต้นสูง ต้นเตี้ยได้ต้นเตี้ย จากผลการทดลองหลายครั้งซึ่งในเวลานานหลายปีเขาสามารถสรุปได้ และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่า ลักษณะเด่นและด้อยที่อยู่ในแต่ละพันธุ์จะไม่ถูกผสมกลมกลืน แต่ยังคงเก็บลักษณะต่าง ๆ ไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายใน 2-3 ชั่วอายุ ซึ่งลูกที่ออกมาจะเป็นไปในอัตราส่วน พันธุ์เด่น : พันธุ์ด้อย เท่ากับ 3 : 1เสมอ แต่ถ้ามี การผสมข้ามพันธุ์ไปอีกย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน ส่วนนี้เป็นเรื่องของพันธุ์ทาง แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้ คือไม่มีการผสมข้ามพันธุ์แล้วลูกย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้จะต่อไปถึง 2-3 ชั่วอายุแล้วก็ตาม
เมนเดลยังคงอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่ว่านี้ถูกกำหนดโดย Heredity Atoms ซึ่งอยู่ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของ ยีนส์ (Genes) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน โดยหน่วยของยีนส์จะอยู่ในทั้งเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (Male genetices) และเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (Female genetices)
หลังจากการทดลองและพบความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรม เขาได้นำผลงานเสนอต่อสมาคมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์น (Natural Science Society of Brunn) ทางสมาคมได้นำผลงานของเมนเดลตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า Proceedings of the Nature History Society of Brunn ในปี ค.ศ. 1866 และผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์เพียงชิ้นเดียวของเขา แต่ผลงานชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1900 ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 34 ปี เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ผลงานของเขาได้เผยแพร่คือ อีริค เชอร์มัค (Erich Thshermak) ฮิวโก เดอร์ วีส (Hugo de Vries) และคาร์ล คอร์เรนส์ (Karl Correns) ซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และได้ค้นเจอหนังสือเล่มนี้ของเมนเดลเกี่ยวกับการทดลองเรื่องถั่วในห้องสมุด ซึ่งการทดลองนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของความลับในการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น ๆ อีกได้แก่การศึกษาชีวิตของผึ้ง ระยะเวลาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิประจำวัน ทิศทางของลม และการศึกษาการเจริญเติบโต การขยายพันธ์ของพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล : Gregor Mendel
เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล : Gregor Mendel
เกิด วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
เสียชีวิต วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองเบิร์น (Brunn) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
ผลงาน - ค้นพบลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
- ให้กำเนิดวิชาพันธุศาสตร์ (Genetices)
เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)
เมนเดลเกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย ครอบครัวของเขาอยู่ในฐานะดีแต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งนักบิดาของเขาเป็นเกษตรกร ทำให้เมนเดลมีความรู้เกี่ยวกับพืชเป็นอย่างดีเมนเดลเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนมัธยมในเมืองทรอปโป (Troppau) ในระหว่างนี้ครอบครัวเขายากจนลงทำให้เมนเดลต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงานภายในฟาร์ม ทั้งต่อมา บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบครัวจึงตกลงขายที่ดิน และนำเงินมาแบ่งกันน้องสาวของเขาเห็นว่า เขามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการศึกษาจึงมอบเงินส่วนของเธอให้กับเมนเดลเพื่อศึกษาต่อ แต่ถึงอย่างนั้นเงินที่มีอยู่ก็ยังคงไม่เพียงพอและจากความช่วยเหลือสนับสนุนจากครูผู้หนึ่ง ในปี ค.ศ.1843 เมนเดลจึงได้บวชเป็นเณรในสำนักออกัสทิเนียน(Augustinion Order) ที่เมืองบรูโน (Bruno) ต่อมาเมนเดลได้สอบเข้าโรงเรียนในเมืองบรูโน แต่ก็ไม่สามารถสอบเข้าได้ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอยู่หลายครั้ง ดังนั้นเมนเดลจึงได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยโอลมุทซ์ (Olmutz College) ในที่สุดเมนเดลก็สำเร็จการศึกษา หลังจากจบการศึกษาเมนเดล ได้บวชเป็นพระอยู่ที่วิหารออกัสทิเนียนนั่นเอง และได้รับฉายาว่า เกรเกอร์หน้าชื่อของเขาเป็นเกรเกอร์โจฮันน์ เมนเดล
แม้ว่าเมนเดลจะไม่ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติตาที่เขาได้ตั้งใจไว้แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการค้นคว้างานด้านนี้ นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1862 เขายังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง Natural Science Society ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการศึกษางานด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติมากสถาบันหนึ่ง
จากการที่เมนเดลเคยทำงานในฟาร์มมาก่อนทำให้เขามีความรู้ด้านพืชเป็นอย่างดีเมนเดลได้ปลูกพืชพันธ์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในสวนหลังโบสถ์ที่มีเนื้อที่เพียง ? เอเคอร์ เท่านั้นเขาเริ่มสังเกตุเห็นความแตกต่างของต้นไม้แต่ละต้นทั้งที่เกิดจาก ต้นกำเนิดเดียวกันและต่างพันธุ์กันดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และเริ่มทำการทดลอง ในปี ค.ศ. 1865 เมนเดลได้เริ่มต้นทำการทดลองเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร เขาได้ทำการทดลองโดยใช้ต้นถั่วในการทดลอง เนื่องจากต้นถั่วเป็นพืชล้มลุก ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น และมีพันธุ์ที่แตกต่างกันมากมายหลายพันธุ์ เช่น ชนิดต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ส่วนเมล็ดบางชนิดสีเขียว สีเหลือง และสีน้ำตาล ดังนั้นดอกก็ย่อมมีสีที่ แตกต่างกันด้วย เช่นกัน คือ ดอกบางชนิดสีขาว สีม่วงแกมแดง ซึ่งลักษณะของดอกต้นถั่วนี้คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดเนื่องจากดอกของต้นถั่วซึ่งเรียกกันตามลัษณะทางพฤษศาสตร์ว่า ดอกสมบูรณ์เพศ (Rerfect flowered) คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ย่อมเป็นการง่ายต่อการนำมาทดลองซึ่ง ในขั้นต้นเมนเดลได้หว่านเมล็ดพืชลงบริเวณแปลงทดลอง ในเรือนเพาะชำ และปล่อยให้ต้นถัวผสมพันธ์และเจริญเติบโตกันเองตามธรรมชาติ จากผลการทดลองพบว่าต้นถั่วมีขนาดไม่เท่ากันบางต้นสูง บางต้นเตี้ย อีกทั้งเมล็ดก็มีสีต่างกัน บางต้นเหลืออ่อน บางต้นสีน้ำตาล การทดลองครั้งแรกจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมนเดลไม่สามารถหาข้อสรุปได้
จากนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง โดยการใช้กระดาษห่อดอกที่ต้องการผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการผสมพันธุ์กันเอง จากนั้นเอมเดลได้คัดเลือกเกสรของพันธ์ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่มากถึง 7 พันธุ์ มาผสมข้ามพันธุ์กัน โดยการทดลองครั้งนี้เมนเดลได้มุ่งประเด็นไปที่ความสูงและความเตี้ยของต้นถั่วเป็นสำคัญ เมนเดลนำเกสรตัวผู้ของต้นสูง มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นเตี้ย จากผลการทดลองปรากฏว่าได้พันธุ์ทาง (Hybrid) ที่มีต้นเตี้ยและต้นสูง แลไม่มีต้นที่มีความสูงระดับปานกลางจากนั้นเขาจึงทำให้การทดลองต่อไปโดยการสลับกัน คือ นำเกสรตัวผู้ของต้นเตี้ย มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นสูง จากนั้นเขาได้สลับไปมาระหว่างต้นสูง และต้นเตี้ยกว่า 10 ครั้ง ทำให้เมนเดลมีเมล็ดถั่วจำนวนมาก เมนเดลได้นำเมล็ดถั่วมาทดลองปลูกปรากฏว่าต้นถั่วชุดแรกได้พันธุ์สูงทั้งหมด ตามลักษณะเช่นนี้เมนเดลได้สันนิษฐานว่า พันธุ์ต้นสูงเป็นลักษณะพันธุ์เด่นที่ข่มพันธ์เตี้ยซึ่งด้อยกว่าไว้
จากนั้นเมนเดลได้ปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธุ์กันเอง และเมื่อเมนเดลเก็บเมล็ดถั่วมาปลูกในปีต่อมา ผลปรากฏว่าในจำนวน 1,064 ต้น เป็นต้นสูง 787 ต้น ต้นเตี้ย 277 ต้น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทำให้เมนเดลเกิดความสงสัยเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไปในครั้งที่ 3 ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับครั้งแรกและครั้งที่ 2 คือ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ผลปรากฏว่าได้พันธุ์แท้ตามลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ คือ ต้นสูงได้ต้นสูง ต้นเตี้ยได้ต้นเตี้ย จากผลการทดลองหลายครั้งซึ่งในเวลานานหลายปีเขาสามารถสรุปได้ และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่า ลักษณะเด่นและด้อยที่อยู่ในแต่ละพันธุ์จะไม่ถูกผสมกลมกลืน แต่ยังคงเก็บลักษณะต่าง ๆ ไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายใน 2-3 ชั่วอายุ ซึ่งลูกที่ออกมาจะเป็นไปในอัตราส่วน พันธุ์เด่น : พันธุ์ด้อย เท่ากับ 3 : 1เสมอ แต่ถ้ามี การผสมข้ามพันธุ์ไปอีกย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน ส่วนนี้เป็นเรื่องของพันธุ์ทาง แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้ คือไม่มีการผสมข้ามพันธุ์แล้วลูกย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้จะต่อไปถึง 2-3 ชั่วอายุแล้วก็ตาม
เมนเดลยังคงอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่ว่านี้ถูกกำหนดโดย Heredity Atoms ซึ่งอยู่ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของ ยีนส์ (Genes) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน โดยหน่วยของยีนส์จะอยู่ในทั้งเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (Male genetices) และเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (Female genetices)
หลังจากการทดลองและพบความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรม เขาได้นำผลงานเสนอต่อสมาคมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์น (Natural Science Society of Brunn) ทางสมาคมได้นำผลงานของเมนเดลตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า Proceedings of the Nature History Society of Brunn ในปี ค.ศ. 1866 และผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์เพียงชิ้นเดียวของเขา แต่ผลงานชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1900 ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 34 ปี เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ผลงานของเขาได้เผยแพร่คือ อีริค เชอร์มัค (Erich Thshermak) ฮิวโก เดอร์ วีส (Hugo de Vries) และคาร์ล คอร์เรนส์ (Karl Correns) ซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และได้ค้นเจอหนังสือเล่มนี้ของเมนเดลเกี่ยวกับการทดลองเรื่องถั่วในห้องสมุด ซึ่งการทดลองนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของความลับในการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น ๆ อีกได้แก่การศึกษาชีวิตของผึ้ง ระยะเวลาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิประจำวัน ทิศทางของลม และการศึกษาการเจริญเติบโต การขยายพันธ์ของพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
เกิด วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
เสียชีวิต วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองเบิร์น (Brunn) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
ผลงาน - ค้นพบลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
- ให้กำเนิดวิชาพันธุศาสตร์ (Genetices)
เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)
เมนเดลเกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย ครอบครัวของเขาอยู่ในฐานะดีแต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งนักบิดาของเขาเป็นเกษตรกร ทำให้เมนเดลมีความรู้เกี่ยวกับพืชเป็นอย่างดีเมนเดลเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนมัธยมในเมืองทรอปโป (Troppau) ในระหว่างนี้ครอบครัวเขายากจนลงทำให้เมนเดลต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงานภายในฟาร์ม ทั้งต่อมา บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบครัวจึงตกลงขายที่ดิน และนำเงินมาแบ่งกันน้องสาวของเขาเห็นว่า เขามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการศึกษาจึงมอบเงินส่วนของเธอให้กับเมนเดลเพื่อศึกษาต่อ แต่ถึงอย่างนั้นเงินที่มีอยู่ก็ยังคงไม่เพียงพอและจากความช่วยเหลือสนับสนุนจากครูผู้หนึ่ง ในปี ค.ศ.1843 เมนเดลจึงได้บวชเป็นเณรในสำนักออกัสทิเนียน(Augustinion Order) ที่เมืองบรูโน (Bruno) ต่อมาเมนเดลได้สอบเข้าโรงเรียนในเมืองบรูโน แต่ก็ไม่สามารถสอบเข้าได้ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอยู่หลายครั้ง ดังนั้นเมนเดลจึงได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยโอลมุทซ์ (Olmutz College) ในที่สุดเมนเดลก็สำเร็จการศึกษา หลังจากจบการศึกษาเมนเดล ได้บวชเป็นพระอยู่ที่วิหารออกัสทิเนียนนั่นเอง และได้รับฉายาว่า เกรเกอร์หน้าชื่อของเขาเป็นเกรเกอร์โจฮันน์ เมนเดล
แม้ว่าเมนเดลจะไม่ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติตาที่เขาได้ตั้งใจไว้แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการค้นคว้างานด้านนี้ นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1862 เขายังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง Natural Science Society ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการศึกษางานด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติมากสถาบันหนึ่ง
จากการที่เมนเดลเคยทำงานในฟาร์มมาก่อนทำให้เขามีความรู้ด้านพืชเป็นอย่างดีเมนเดลได้ปลูกพืชพันธ์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในสวนหลังโบสถ์ที่มีเนื้อที่เพียง ? เอเคอร์ เท่านั้นเขาเริ่มสังเกตุเห็นความแตกต่างของต้นไม้แต่ละต้นทั้งที่เกิดจาก ต้นกำเนิดเดียวกันและต่างพันธุ์กันดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และเริ่มทำการทดลอง ในปี ค.ศ. 1865 เมนเดลได้เริ่มต้นทำการทดลองเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร เขาได้ทำการทดลองโดยใช้ต้นถั่วในการทดลอง เนื่องจากต้นถั่วเป็นพืชล้มลุก ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น และมีพันธุ์ที่แตกต่างกันมากมายหลายพันธุ์ เช่น ชนิดต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ส่วนเมล็ดบางชนิดสีเขียว สีเหลือง และสีน้ำตาล ดังนั้นดอกก็ย่อมมีสีที่ แตกต่างกันด้วย เช่นกัน คือ ดอกบางชนิดสีขาว สีม่วงแกมแดง ซึ่งลักษณะของดอกต้นถั่วนี้คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดเนื่องจากดอกของต้นถั่วซึ่งเรียกกันตามลัษณะทางพฤษศาสตร์ว่า ดอกสมบูรณ์เพศ (Rerfect flowered) คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ย่อมเป็นการง่ายต่อการนำมาทดลองซึ่ง ในขั้นต้นเมนเดลได้หว่านเมล็ดพืชลงบริเวณแปลงทดลอง ในเรือนเพาะชำ และปล่อยให้ต้นถัวผสมพันธ์และเจริญเติบโตกันเองตามธรรมชาติ จากผลการทดลองพบว่าต้นถั่วมีขนาดไม่เท่ากันบางต้นสูง บางต้นเตี้ย อีกทั้งเมล็ดก็มีสีต่างกัน บางต้นเหลืออ่อน บางต้นสีน้ำตาล การทดลองครั้งแรกจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมนเดลไม่สามารถหาข้อสรุปได้
จากนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง โดยการใช้กระดาษห่อดอกที่ต้องการผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการผสมพันธุ์กันเอง จากนั้นเอมเดลได้คัดเลือกเกสรของพันธ์ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่มากถึง 7 พันธุ์ มาผสมข้ามพันธุ์กัน โดยการทดลองครั้งนี้เมนเดลได้มุ่งประเด็นไปที่ความสูงและความเตี้ยของต้นถั่วเป็นสำคัญ เมนเดลนำเกสรตัวผู้ของต้นสูง มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นเตี้ย จากผลการทดลองปรากฏว่าได้พันธุ์ทาง (Hybrid) ที่มีต้นเตี้ยและต้นสูง แลไม่มีต้นที่มีความสูงระดับปานกลางจากนั้นเขาจึงทำให้การทดลองต่อไปโดยการสลับกัน คือ นำเกสรตัวผู้ของต้นเตี้ย มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นสูง จากนั้นเขาได้สลับไปมาระหว่างต้นสูง และต้นเตี้ยกว่า 10 ครั้ง ทำให้เมนเดลมีเมล็ดถั่วจำนวนมาก เมนเดลได้นำเมล็ดถั่วมาทดลองปลูกปรากฏว่าต้นถั่วชุดแรกได้พันธุ์สูงทั้งหมด ตามลักษณะเช่นนี้เมนเดลได้สันนิษฐานว่า พันธุ์ต้นสูงเป็นลักษณะพันธุ์เด่นที่ข่มพันธ์เตี้ยซึ่งด้อยกว่าไว้
จากนั้นเมนเดลได้ปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธุ์กันเอง และเมื่อเมนเดลเก็บเมล็ดถั่วมาปลูกในปีต่อมา ผลปรากฏว่าในจำนวน 1,064 ต้น เป็นต้นสูง 787 ต้น ต้นเตี้ย 277 ต้น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทำให้เมนเดลเกิดความสงสัยเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไปในครั้งที่ 3 ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับครั้งแรกและครั้งที่ 2 คือ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ผลปรากฏว่าได้พันธุ์แท้ตามลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ คือ ต้นสูงได้ต้นสูง ต้นเตี้ยได้ต้นเตี้ย จากผลการทดลองหลายครั้งซึ่งในเวลานานหลายปีเขาสามารถสรุปได้ และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่า ลักษณะเด่นและด้อยที่อยู่ในแต่ละพันธุ์จะไม่ถูกผสมกลมกลืน แต่ยังคงเก็บลักษณะต่าง ๆ ไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายใน 2-3 ชั่วอายุ ซึ่งลูกที่ออกมาจะเป็นไปในอัตราส่วน พันธุ์เด่น : พันธุ์ด้อย เท่ากับ 3 : 1เสมอ แต่ถ้ามี การผสมข้ามพันธุ์ไปอีกย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน ส่วนนี้เป็นเรื่องของพันธุ์ทาง แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้ คือไม่มีการผสมข้ามพันธุ์แล้วลูกย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้จะต่อไปถึง 2-3 ชั่วอายุแล้วก็ตาม
เมนเดลยังคงอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่ว่านี้ถูกกำหนดโดย Heredity Atoms ซึ่งอยู่ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของ ยีนส์ (Genes) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน โดยหน่วยของยีนส์จะอยู่ในทั้งเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (Male genetices) และเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (Female genetices)
หลังจากการทดลองและพบความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรม เขาได้นำผลงานเสนอต่อสมาคมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์น (Natural Science Society of Brunn) ทางสมาคมได้นำผลงานของเมนเดลตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า Proceedings of the Nature History Society of Brunn ในปี ค.ศ. 1866 และผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์เพียงชิ้นเดียวของเขา แต่ผลงานชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1900 ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 34 ปี เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ผลงานของเขาได้เผยแพร่คือ อีริค เชอร์มัค (Erich Thshermak) ฮิวโก เดอร์ วีส (Hugo de Vries) และคาร์ล คอร์เรนส์ (Karl Correns) ซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และได้ค้นเจอหนังสือเล่มนี้ของเมนเดลเกี่ยวกับการทดลองเรื่องถั่วในห้องสมุด ซึ่งการทดลองนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของความลับในการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น ๆ อีกได้แก่การศึกษาชีวิตของผึ้ง ระยะเวลาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิประจำวัน ทิศทางของลม และการศึกษาการเจริญเติบโต การขยายพันธ์ของพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ กาลิเลโอ กาลิเลอี : Galileo Galilei
กาลิเลโอ กาลิเลอี : Galileo Galilei
เกิด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา (Pisa) ประเทศอิตาลี (Italy)
เสียชีวิต วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ประเทศอิตาลี (Italy)
ผลงาน - ค.ศ. 1584 ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่างของนาฬิกาลูกตุ้ม
- ค.ศ. 1585 ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Kydrostatic Balance และ Centre of Gravity
- ค.ศ. 1591 พิสูจน์ทฤษฎีของอาริสโตเติลที่ว่าวัตถุที่มีน้ำหนักเบาว่าผิด อันที่จริงวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอ
- พัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถส่องดูดาวบนจักรวาลได้
- พบลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
- พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์
- พบทางช้างเผือก (Milky Way)
- พบบริวารของดาวพฤหัสบดี ว่ามีมากถึง 4 ดวง
- พบวงแหวนของดาวเสาร์ ซึ่งปากฎว่ามีสีถึง 3 สี
- พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์
- พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot)
- พบดาวหาง 3 ดวง
กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก โดยเฉพาะผลงานด้านดาราศาสตร์เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด การทดลองและการค้นพบของเขามีประโยชน์มากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ เช่น พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ พบบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น การพบลักษณะการแกว่งของวัตถุซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องจับเวลา และนาฬิกาลูกตุ้ม อีกทั้งการที่เขาสามารถพัฒนาสร้างกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้า อีกทั้งเขายังเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญอย่างมากในการเสนอแนวความคิด ต่าง ๆ เกี่ยวกับทฤษฎีดั้งเดิมที่ผิดของอาริสโตเติล ซึ่งนำความเดือดร้อนมาให้กับเขาเอง ทั้งการถูกต้องขังและถูก กล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตต่อต้านคำสั่งสอนทางศาสนา ซึ่งเกือบจะต้องเสียชีวิตถ้าเขาไม่ยอมรับความผิดอันนี้ แม้ว่าเขาจะต้อง ยอมรับผิด แต่เขาก็ไม่หยุดทำการค้นคว้าและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไป กาลิเลโอมักมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่นเสมอ เขาจะไม่ยอมเชื่อทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาทั้งในอดีตและในยุคนั้น กาลิเลโอต้องทำการทดลอง เสียก่อนที่จะเชื่อถือในทฤษฎีข้อนั้น และด้วยนิสัยเช่นนี้ทำให้เขาได้รับฉายาว่า The Wrangler ฉายาของกาลิเลโออันนี้ในปัจจุบัน ได้ใช้หมายถึง "ผู้เชี่ยวชาญ" ในมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (Oxford University) และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์(Cambridge University)
กาลิเลโอเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี บิดาของเขาเป็นขุนนาง นักคณิตศาสตร์ นักดนตรีและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร บิดาของเขามีชื่อว่า วินเซนซิโอ กาลิเลอี (Vincenzio Galilei) กาลิเลโอเข้ารับการศึกษา ขั้นต้นที่เมืองปิซานั่นเอง กาลิเลโอเป็นนักเรียนที่เฉลียวฉลาด และมีความสามารถหลายด้าน ทั้งวาดภาพ เล่นดนตรี และคณิตศาสตร์ บิดาของกาลิเลโอต้องการให้เขาศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ด้วยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่อง กาลิเลโอได้ปฏิบัติตามที่บิดาต้องการ คือ เข้าเรียนในวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา (Pisa University) แต่กาลิเลโอมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มากกว่า จนกระทั่งครั้งหนึ่งกาลิเลโอมีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เขาเลิกเรียนวิชาแพทย์ และไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แทน
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของกาลิเลโอเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1584 เมื่อเขากำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ในโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาสังเกตเห็นโคมแขวนบนเพดานโบสถ์แกว่างไปแกว่างมา เขาจึงเกิดความสงสัยว่าการแกว่งไปมาของโคมในแต่ละรอบใช้เวลา เท่ากันหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงทดลองจับเวลาการแกว่งไปมาของโคม โดยเทียบกับชีพจรของตัวเอง เนื่องจากเขาเคยเรียนวิชาแพทย์ ทำให้เขารู้ว่าจังหวะการเต้นของชีพจรของคนในแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาเท่ากัน ผลปรากฎว่าไม่ว่าโคมจะแกว่งในลักษณะใดก็แล้วแต่ ระยะเวลาในการแกว่งไปและกลับครบ 1 รอบ จะเท่ากันเสมอ เมื่อเขากลับบ้านได้ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้อีกหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทฤษฎีที่เขาจะตั้งขึ้นถูกต้องที่สุด ซึ่งผลการทดลองก็เหมือนกันทุกครั้ง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่ากฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือ กฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม กาลิเลโอได้นำหลักการจากการทดลองครั้งนี้มาสร้างเครื่องจับเวลาซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮฮยเกนส์ (Christian Huygens) ได้นำทฤษฎีนี้มาสร้างนาฬิกาลูกตุ้ม
ต่อมาในปี ค.ศ. 1585 กาลิเลโอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินพอสำหรับการเรียนต่อ เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) และได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันฟลอเรนทีน (Florentine Academy) ในระหว่างนี้กาลิเลโอ ได้เขียนหนังสือขึ้นมา 2 เล่ม เล่มแรกชื่อว่า Hydrostatic Balance เป็นเรื่องเกี่ยวกับตาชั่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Centre of Gravity เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง เล่มที่ 2 นี้เขาเขียนเนื่องจากมาร์เชส กวิดูบาลโด เดล มอนเต แห่งเปซาโร(Marchese Guidubald Del Monte of Pasaro) ซึ่งเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเขา ขอร้องให้เขียนขึ้น จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เองทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1588 กาลิเลโอได้รับการติดต่อให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชา คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิซา ในปี ค.ศ. 1591 ระหว่างที่กาลิเลโอเข้าทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซา เขาได้นำทฤษฎีของอาริสโตเติล มาทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ทฤษฎีที่ว่านี้ คือ ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา
แต่เมื่อกาลิเลโอทดลองแล้วปรากฏว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากและวัตถุที่มีน้ำหนักเบา จะตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่การที่อาริสโตเติล สรุปทฤษฎีเช่นนี้เป็นผลเนื่องมาจากอากาศได้ช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้มากกว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทำการทดลอง ในสุญญากาศจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอได้นำความจริงข้อนี้ไปชี้แจงกับทางมหาวิทยาลัย ผลปรากฏว่า มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจน โดยนำก้อนตะกั่ว 2 ก้อน ก้อนหนึ่งหนัก 10 ปอนด์ อีกก้อนหนึ่งหนัก 20 ปอนด์ ทิ้งลงมาจากหอเอนปิซาพร้อมกัน ผลปรากฏว่าก้อนตะกั่วทั้ง 2 ก้อนตกถึงพื้นพร้อมกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลผิด และของกาลิเลโอถูกต้อง แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่ยึดถือทฤษฎีของ อาริสโตเติลอย่างเหนียวแน่นก็ยังไม่เชื่อกาลิเลโออยู่ดี อีกทั้งหาทางกลั่นแกล้งจนกาลิเลโอ ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซา
หลังจากที่กาลิเลโอลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ปาดัว (Padua University) ในระหว่างนี้กาลิเลโอได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ ทำการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกของวัตถุ ซึ่งเขาพบว่าในระหว่างที่วัตถุตกลงสู่พื้นนั้น ความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้นทุกวินาที การทดลองนี้ทางการทหารได้นำไปใช้ในการคำนวณหาเป้าหมายของลูกปืนใหญ่ หลักเกณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ของวัตถุนี้ทำให้ เกิดวิชาที่เรียกว่า "พลศาสตร์ (Dynamic)" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชากลศาสตร์
กาลิเลโอมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์อย่างมาก แต่ไม่สามารถศึกษาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1608 มีข่าวว่าช่างทำแว่นตาชาวฮอลแลนด์ สามารถประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลขนาดเล็กได้เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี ค.ศ. 1610 กาลิเลโอจึงนำหลักเกณฑ์เดียวดันนี้มาสร้างเป็นกล้องโทรทรรศน์ขึ้นเป็นครั้งแรกแต่กล้องโทรทรรศน์ ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นในครั้งแรกมีกำลังขยายเพียง 3 เท่า เท่านั้น ต่อมาเขาได้ปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกำลังขยายมากถึง 32 เท่า ซึ่งกล้องอันนี้สามารถส่องดูดวงดาวต่าง ๆ ในจักรวาลได้อย่างชัดเจน สิ่งที่กาลิเลโอได้พบเห็นจากกล้องโทรทรรศน์ เขาได้บันทึกลงในหนังสือเล่มหนึ่ง และตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อหนังสือว่า Sederieus Nuncius หมายถึง ผู้นำสารจากดวงดาว ภายในหนังสือเรื่องนี้มีรายละเอียดดังนี้
- ผิวของดวงจันทร์ ซึ่งปรากฏว่าไม่เรียบเหมือนอย่างที่มองเห็น แต่มีหลุม หุบเหว และภูเขาใหญ่น้อย จำนวนมาก
- พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น โลก ดาวพุธ และดวงจันทร์ เป็นต้น และดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
- พบทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งมีลักษณะเป็นทางขาว ๆ ดูคล้ายหมอกบาง ๆ พาดผ่านไปบนท้องฟ้า ทางช้างเผือก เกิดจากแสงของกลุ่มดาวฤกษ์ซึ่งมีความหนาแน่นมาก
- เนบิวลา (Nebula) คือ กลุ่มก๊าซ และวัตถุต่าง ๆ ซึ่งมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่น
- พบวงแหวนของดาวเสาร์ แต่กาลิเลโอไม่ได้เรียกว่าวงแหวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1655 ฮอยเกนส์ได้พิสูจน์ว่าเป็นวงแหวน และเรียกว่า "วงแหวนของดาวเสาร์ (Saturn's Ring)"
- พบบริวารของดาวพฤหัสบดีว่ามีมากถึง 4 ดวง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีว่า ซีเดรา เมดิซี (Sidera Medicea) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดยุคแห่งทัสคานี คอซิโมที่ 2 (Duke of Tuscany Cosimo II) ผู้ซึ่งเป็นทั้งลูกศิษย์ และเจ้านายของเขาในเวลาต่อมา และจากการค้นพบครั้งนี้ กาลิเลโอได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการโคจรของโลกรอบดวง อาทิตย์ และภายหลังจากการศึกษา กาลิเลโอได้ตั้งทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล และโลกต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์
- พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์
- พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot)
จากการค้นพบครั้งนี้กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Letter on the Solar Spot ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล ว่าอันที่จริงแล้วดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของสุริยจักรวาล อีกทั้งโลกและดาวดวงอื่น ๆ ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์การค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอครั้งนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีนั้นก็คือทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง อีกทั้งชื่อเสียงของ กาลิเลโอก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น เขาได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของท่านแกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี (Grand Duke of Tuscany) ส่วนข้อเสียเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายอย่างมากต่อกาลิเลโอ คือ ทฤษฎีของกาลิเลโอขัดแย้งกับหลักศาสนา และทฤษฎีของอาริสโตเติลที่มีผู้เชื่อถือมากในขณะนั้น แม้ว่ากาลิเลโอจะนำกล้องโทรทรรศน์มาตั้งให้ทุกคน ได้ทดลองส่องดู ซึ่งทุกคนก็เห็นเช่นเดียวกับที่กาลิเลโอบอกไว้ แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่มีความเชื่อถือในทฤษฎีของอาริสโตเติล ก็ยังไม่เห็นด้วยกับกาลิเลโอ และกล่าวหากาลิเลโอว่าต่อต้านศาสนา ทำให้กาลิเลโอได้รับคำสั่งจากศาสนจักรให้หยุดแสดง ความคิดเห็นที่ขัดแย้งต่อหลักศาสนา หลังจากนั้นกาลิเลโอได้เดินทางไปยังเมืองฟลอเรนซ์ และอยู่ที่นี่เป็นเวลานานถึง 7 ปี และในระหว่างนี้ เขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1618 กาลิเลโอได้พบดาวหางถึง 3 ดวง และได้พบความจริง เกี่ยวกับดาวหางที่ว่า ดาวหางเป็นดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งเช่นกัน แสงที่เกิดนี้เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ กาลิเลโอได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ลงในหนังสือชื่อว่า Saggiatore แต่ทฤษฎีข้อนี้ของกาลิเลโอ ผิดพลาด
ใน ปี ค.ศ. 1632 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialogo Del Due Massimi Sistemi Del Mondoแต่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อความที่ต่อต้านกับหลักศาสนา กาลิเลโอจึงเขียนขึ้นในเชิงบทละคร ซึ่งมีตัวเอกด 2 ตัว สนทนา เกี่ยวกับทฤษฎีของปโตเลมี และโคเปอร์นิคัส แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสอยู่ดี ทำให้เขาถูกต่อต้านอย่างหนักอีกทั้งหนังสือเล่มนี้ก็ถูกห้ามมิให้จำหน่ายในประเทศอิตาลีอีกด้วย ส่วนตัวเขาถูกสอบสวนและต้องโทษจำคุกเพื่อให้สำนึกบาปที่ คัดค้านคำสอนในคริสต์ศาสนา ต่อมาเขาถูกบังคับให้กล่าวคำขอโทษ เพื่อแลกกับอิสระและชีวิตของเขา แม้ว่าเขาจะถูกปล่อยตัวออกจากคุก แต่เขาก็ยังต้องอยู่ในความควบคุมของอัสคานิโอ ปิคโคโรมินิ (Ascanio Piccoromini) บาทหลวงผู้หนึ่งซึ่งในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับฟิสิกส์ และตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Disorsi
เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเขามีอุปสรรค เขาจึงหันมาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แทน กาลิเลโอได้ประดิษฐ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นหลายชิ้น ได้แก่ นาฬิกาน้ำ ไม้บรรทัด และเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นต้น และในปี ค.ศ. 1636 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialoghi Della Nuove Scienze แต่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1638 โดยเอสเซฟเวียร์ (Elzavirs) ที่เมืองเลย์เดน (Leyden) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์ หลังจากหนังสือเล่มนี้เผยแพร่ออกไปกลับได้รับความนิยมมากกว่าหนังสือดาราศาสตร์ของเขา อีกทั้งไม่ถูกต่อต้านจากศาสนาจักรอีกด้วย
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต กาลิเลโอได้ค้นคว้า และเฝ้ามองดูการเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้า รวมถึงดวงจันทร์ด้วย กาลิเลโอได้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์จนพบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลา 15 วัน ในการโคจรรอบโลก ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบ ครั้งสุดท้ายของเขา เพราะหลังจากนั้นประมาณ 2 - 3 เดือน เขาก็ตาบอดและสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความชรา และเสีย ชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ กูกลิเอลโม มาร์โคนี : Guglielmo Marcony
กูกลิเอลโม มาร์โคนี : Guglielmo Marcony
เกิด วันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1874 ที่เมืองโบโลญญา (Bologna) ประเทศอิตาลี (Italy)
เสียชีวิต วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม (Rome) ประเทศอิตาลี (Italy)
ผลงาน - ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1907 จากผลงานการค้นคว้าวิทยุ
วิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดชนิดหนึ่ง อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เนื่องจากวิทยุโทรเลขไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรเลขในการเชื่อมโยงเครื่องโทรเลขจากเครื่องหนึ่งถึงเครื่องหนึ่ง และที่มีประโยชน์อย่างมากก็คือใช้ในกิจการเดินเรือ ที่สามารถส่งข่าวสารต่าง ๆ จากเรือมาสู่บนฝั่งได้ วิทยุสื่อสารชิ้นนี้ยังมีประโยชน์และบทบาทอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่กองทัพได้ไปใช้ในการส่งข่าวสารจากที่ที่ห่างไกลกันมากได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย
มาร์โคนีเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1874 ที่เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ในตระกูลที่ร่ำรวย บิดาของเขาชื่อว่า กีเซป มาร์โคนี ส่วนมารดาของเขาชื่อว่า แอนนี เจมส์สัน มาร์โคนีมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งบิดาของเขาก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และได้จ้างครูมาสอนวิชาไฟฟ้าให้กับมาร์โคนีอีกด้วย เขาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนประจำเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคเล็กฮอร์น นอกจากการศึกษาภายในโรงเรียนแล้ว เขายังได้ศึกษาตำราไฟฟ้าของนักฟิสิกส์ชาวสก๊อต เจมส์ คลาร์ก แมกเวล (James Clark Maxwell) ผลงานของแมกเวล มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มาร์โคนีมีความสนใจในวิชาฟิสิกส์ อีกทั้งเขาได้ขอร้องบิดาให้จ้างครูมาสอนวิชาฟิสิกส์ ให้กับเขาที่บ้านอีกด้วย ซึ่งบิดาก็ได้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเขา นอกจากนี้เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอีเทอร์ที่เป็นตัวกลางให้คลื่นแห่ง เหล็กไฟฟ้าเดินทมงจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้
ในปี ค.ศ.1894 มาร์โคนีได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวที่เทือกเขาแอลป์ในประเทศอิตาลีนั่นเอง เขาได้มีโอกาสได้อ่านวารสารทางวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่ง หนังสือเล่มนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1886 ของไฮน์ริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Hirich Rudolph Hertz) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประกอบกับการมีความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอย่างดี จากอาจารย์สอนพิเศษของเขาหลายท่าน ทำให้มาร์โคนีเกิดความคิดว่าคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าน่าจะมีประโยชน์ในการส่งสัญญาณโทรเลข โดยไม่ต้องอาศัยสายโทรเลขในการส่งสัญญาณ
ต่อมาในปี ค.ศ.1895 เมื่อมาร์โคนีเดินทางกลับจากการท่องเที่ยว เขาได้เริ่มต้นการค้นคว้าทดลองเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยสิ่งประดิษฐ์ทางไฟฟ้าชิ้นแรกของมาร์โคนี คือ กริ่งไฟฟ้าไร้สาย โดยเขาได้ติดตั้งกริ่งไว้ที่ชั้นล่าง ส่วนสวิตช์ไว้ชั้นบนของบ้าน เมื่อกดสวิตช์ที่อยู่นั้นบนกริ่งที่อยู่ชั้นล่างกลับดังขึ้น ทั้งที่ไม่มีสายไฟเชื่อมต่อระหว่างสวิตช์และกริ่ง จากนั้นมาร์โคนีได้นำกระดิ่งออกไปไว้กลางครามและกดสวิตช์ ภายในบ้านกริ่งก็ดังขึ้นอีก สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้อาศัยหลักการของเอดูร์ บรองลีนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งประดิษฐ์เครื่องรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเครื่องรับสัญญาณประกอบไปด้วยหลอดแก้ว ซึ่งภายในบรรจุผงโลหะสำหรับเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนเครื่องส่งมาร์โคนีอาศัยหลักการจากเครื่องส่งของเฮิรตซ์ บิดาของมาร์โคนีชอบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มาก และได้มอบเงินให้กับมาร์โคนีถึง 250 ปอนด์
จากความสำเร็จในการสร้างกริ่งไฟฟ้าไร้สาย มาร์โคนีจึงทำการประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโทรเลขขึ้นในปี ค.ศ.1897และทำการทดลองส่งวิทยุโทรเลขไร้สาย จากความช่วยเหลือของพี่ชายของเขา แอลฟอนโซ มาร์โคนี ให้พี่ชายคอยรับฟัง สัญญาณอยู่ที่บ้าน จากนั้นมาร์โคนีได้เดินห่างจากบ้านไปประมาณ 1 ไมล์ แล้วส่งสัญญาณโทรเลขเข้ามา เขาได้ตกลงกับพี่ชายว่าถ้าได้รับสัญญาณให้ยกธงขึ้น เมื่อทดสอบระยะทาง 1 ไมล์ เป็นผลสำเร็จ มาร์โคนีได้ปรับปรุงวิทยุโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถส่งได้ระยะไกลกว่าเดิม และได้ทดสอบส่งสัญญาณผ่านภูเขาปรากฏว่าสัญญาณจากวิทยุสามารถส่งผ่านภูเขามาได้
ในเวลาต่อมามาร์โคนีได้นำผลงานของเขาชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอิตาลี แต่ทางรัฐบาลไม่สนใจและเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นในปี ค.ศ.1896 เขาและมารดาจึงได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อนำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ เมื่อมาถึงประเทศอังกฤษมาร์โคนีต้องได้รับความลำบากเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจค้นกระเป๋าของเขาอย่างละเอียด อีกทั้งเมื่อเจ้าหน้าที่พบวิทยุโทรเลข เกิดเข้าใจผิดว่าเป็นอาวุธสงคราม ทำให้วิทยุโทรเลขได้รับความเสียหาย มาร์โคนีได้นำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อซอร์ วิลเลี่ยม พรีซ (Sir William Preze) นายช่างเอกแห่งกรมไปรษณีย์โทรเลขแห่งอังกฤษ และท่านผู้นี้เองที่ให้การสนับสนุนมาร์โคนีในเรื่องของห้องทดลอง เป็นผู้ช่วยสำปรับปรุงวิทยุโทรเลข อีกทั้งได้มอบโอกาสให้กับเขาในการสาธิตวิทยุโทรเลขให้กับรัฐบาลอังกฤษได้ชม โดยการทดลองส่งสัญญาณจากโต๊ะหนึ่ง เพื่อให้กริ่งอีกโต๊ะหนึ่งดัง เมื่อทุกคนได้ยินกริ่งดังต่างก็ตื่นเต้น ในผลงานชิ้นนี้ และรับผลงานของมาร์ดคนีไว้ในการสนับสนุน ต่อมามาร์โคนีได้ทำการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขจากอาคารไปรษณีย์โทรเลข ไปยังอาคารของธนาคารออมสิน ซึ่งห่างประมาณ 2 ไมล์ ผลการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ว่าการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขในช่วงแรกของมาร์โคนีส่งได้เพียงรหัสมอร์สเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าวิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากนั้นเขาได้พัฒนาวิทยุโทรเลขของเขาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1897 วิทยุโทรเลขของมาร์โคนีสามารถส่งสัญญาณผ่านช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลประเทศอิตารลีที่เคยปฏิเสธเขามาก่อนก็หันมาให้ความสนใจและเห็นคุณค่าในความสามารถของมาร์โคนี อีกทั้งทางรัฐบาลอิตาลีได้เชิญให้มาร์โคนีกลับไปยังประเทศอิตาลี มาร์โคนีปฏิบัติตามคำเชิญของทางรัฐบาล เมื่อเขาเดินทางถึงประเทศอิตาลีเขาได้แสดงการส่งสัญญาณจากบนฝั่งไปยังเรือที่อยู่ห่างจากชายฝั่งถึง 12 ไมล์ หลังจากนั้นมาร์โคนีได้เดินทางกลับไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปิดบริษัทวิทยุโทรเลข โดยใช้ชื่อว่าบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนี (Marcony's Wireless Telegraph Company Limit) กิจการส่งวิทยุโทรเลขของเขามีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ เพราะทั้งกิจการเดินเรือทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเรือรบ เรือเดินสมุทรและหอประภาคารซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเดินเรือ ต่างก็ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในปี ค.ศ.1901 มาร์โคนีได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตั้งสถานีรับส่งสัญญาณโทรเลข จากนั้นในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ.1901 ได้ทำการส่งสัญญาณจากสถานีที่ประเทศอังกฤษมายังประเทศสหรัฐอเมริกา รวมระยะทางถึง 3,000 ไมล์ แม้ว่าการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่มีความทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น แต่ก็ส่งสัญญาได้เพียงรหัสมอร์สเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1906 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เรจินาลย์ เฟสเซนเดน สามารถพบวิธีแปลงสัญญาณวิทยุโทรเลขให้เปลี่ยนเป็นเสียงได้สำเร็จ และมีการทดลองส่งสัญญาณเสียงครั้งแรกของโลกในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.1906 แม้ว่ามาร์โคนีจะไม่ใช่ผู้ค้นพบ แต่เขาก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงให้มีความเจริญก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1909 มาร์โคนีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน โดยมาร์โคนีได้รับจากผลงานการประดิษฐ์วิทยุโทรเลข ส่วนบราวน์ได้รับจากการปรับปรุงเทคโนโลยีการกระจายเสียง และในปีเดียวกันนี้มาร์โคนีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิก มาร์โคนีเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับเกียรติจากรัฐบาลอิตาลีอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากในปี ค.ศ.1912 มาร์โคนีได้เป็นตัวแทนรัฐบาลอิตาลีในการเซ็นสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส และในปี ค.ศ.1929 เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส จากพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอล และยศท่านเซอร์จากพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษ (King George V of England) เนื่องจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้ติดตั้งสัญญาณวิทยุโทรเลขให้กับกองทัพเรือของอังกฤษ
มาร์โคนีได้พยายามพัฒนากิจการวิทยุให้มีความเจริญมากขั้น ในปี ค.ศ.1917 ได้ออกเดินทางโดยเรือยอร์ชส่วนตัวที่เขาตั้งชื่อว่า อิเลคตรา (Electra) และได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กลางทะเล ต่อมาอีก 2 ปี มาร์โคนีได้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่เชล์มฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของโลกที่ทำการกระจายเสียงอย่างเป็นรูปแบบกิจการวิทยุโทรเลขและการกระจายเสียงมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถส่งสัญญาณไปยังที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกมาร์โคนีเสียชีวิตในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาสถานีวิทยุกระจายเสียงได้หยุดการกระจายเสียงเป็นเวลา 2 นาที ในช่วงบั้นปลายชีวิตของมาร์โคนีเขาได้ค้นพบคลื่นวิทยุสั้น ๆ ที่สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลเป็นผลสำเร็จคลื่นวิทยุชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วิทยุคลื่นสั้น
ในปัจจุบัน กิจการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียงที่ใช้เป็นสื่อทางด้านความบันเทิง และการส่งข่าวสารต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ การสื่อสารของยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เช่น เรือโดยสาร เรือเดินทะเล เครื่องบิน ยานอวกาศ เป็นต้น หรือแม้กระทั่ง การติดต่อสื่อสารระหว่างคน 2 คน ก็ล้วนแต่มีความสำคัญและได้รับประโยชน์จากเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
เว็บไซด์อ้างอิง:ประวัติและผลงานนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก.
,http://www.rmutphysics.com/CHARUD/specialnews/2/scientist/scientist2/cony.htm. 4 ก.ค.53. 18.10 น.
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประวัติและผลงานของ อาริสโตเติล : Aristotle
อาริสโตเติล : Aristotle
มีชีวิตระหว่าง พ.ศ. 160 (384 ก่อนค.ศ.) - 7 มีนาคม พ.ศ. 222 (322 ก่อนค.ศ.) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ วีนิพนธ์ สัตววิทยา รัฐบาล และชีววิทยา
นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ อริสโตเติล, เพลโต (อาจารย์ของอริสโตเติล) และโสกราติส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราติส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราติสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่น ๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ
อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก
- ปรัชญาของอริสโตเติล
- อภิปรัชญาของอริสโตเติล
- ปรัชญาธรรมชาติของอริสโดเติล
- จิตวิทยาของอริสโตเติล
ประวัติอริสโตเติล
อริสโตเติลเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากีรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย (Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดชองทะเลเอเจียน (Aegaeen Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส (Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกีย และยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาเซโดเนีย
ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อริสโตเติลคือบิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อเขาอายุได้ 18 ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุดนั้นคือ เพลโต ในกรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20 ปีนั้นทำให้อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโต ต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343 - 342 ก่อนคริสตศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสตศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิป พระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิราชื่อไลเซียม (Lyceum)
ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชา และได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืด ซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย
คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติล
คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติลได้แก่ ความเชื่อที่ว่าโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ
ในเรื่องเกี่ยวกับจักรวาลนั้นอริสโตเติลเข้าใจว่า โลกเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรรอบ ๆ สวรรค์นั้นอยู่นอกอวกาศ โลกอยู่ด้านล่างลงมา น้ำอยู่บนพื้นโลก ลมอยู่เหนือน้ำ และไฟอยู่เหนือลมอีกทีหนึ่ง ธาตุต่าง ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ทว่าธาตุที่ประกอบเป็นสวรรค์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงจะมีรูปร่างเช่นนั้นตลอดไป ซึ่งคำสอนต่อมาในปี ค.ศ. 1609 โจฮันน์ เคปเลอร์ (Johann Kepler) ได้ตั้งกฏของเคปเลอร์ ซึ่งเป็นการประกาศว่า โลกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เป็นการลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของอริสโตเติล
และในอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ กรณีของวัตถุสองอย่างที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน จะตกลงถึงพื้นไม่พร้อมกันตามหลักของอริสโตเติล ซึ่งกาลิเลโอ ได้ทำการพิสูจน์ต่อหน้าสาธารณชนที่หอเอนแห่งปิซาว่าเป็นคำสอนที่ไม่จริงในปี ค.ศ. 1600
แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของอริสโตเติลทางด้านชีววิทยานั้นเป็นที่ยกย่องกันมาก เพราะเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา และพวกสัตว์เลื้อยคลานและได้ทำการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เขาได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวกมีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) และพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) นับว่าอริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก
เว็บไซด์:บุคคลสำคัญของโลก :http://social.eduzones.com/hunny/3810,4 ก.ค.53.18.21 น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ อาร์คิมีดีส : Archimedes
อาร์คิมีดีส : Archimedes
เกิด 287 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เกาะซิซิลี (Sicily)
เสียชีวิต 212 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เกาะซิซิลี (Sicily)
ผลงาน - กฎของอาร์คิมีดีส (Archimedes Principle) ที่กล่าวว่า "ปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมลงในน้ำย่อมเท่ากับปริมาตรของน้ำที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ" ซึ่งกฎข้อนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ
- ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง ได้แก่ คานดีดคานงัด รอก ระหัดวิดน้ำล้อ กับเพลา
- อาวุธสงคราม ได้แก่ เครื่องเหวี่ยงหิน กระจกเว้ารวมแสง และเครื่องปล่อยท่อนไม้
เมื่อเอ่ยชื่ออาร์คิมีดีส ไม่มีใครที่จะไม่รู้จักนามของนักวิทยาศาสตร์เอกผู้นี้ โดยเฉพาะกฎเกี่ยวกับการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ หรือการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมงกุฎทองของกษัตริย์เฮียโร (King Hiero) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเทียบกับสิ่งประดิษฐ์ และการค้นพบของเขาในเรื่องอื่น เช่น ระหัดวิดน้ำ คานดีดคานงัด ล้อกับเพลา เป็นต้น อาร์คิมีดีสขึ้นชื่อว่าเป็นบิดา แห่งกลศาสตร์ที่แท้จริงเนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของเขามักจะเป็นเครื่องผ่อนแรงที่มีประโยชน์และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
อาร์คิมีดีสเป็นนักปราชญ์ชาวกรีก เกิดที่ เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) บนเกาะซิซิลี (Sicily) เมื่อประมาณ 287 ก่อนคริสต์ศักราชบิดาของเขาเป็นนักดาราศาสตร์ชื่อ ไฟดาส (Pheidias) อาร์คิมีดีสมีความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก เขาจึงเดินทางไปศึกษาวิชาคณิตศาสตร์กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์นามว่า ซีนอนแห่งซามอส ซึ่งก็เป็นลูกศิษย์คนเก่งของ
นักปราชญ์เลื่องชื่อลือนามว่า ยูคลิด (Euclid) ที่เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางแห่งวิชาการของกรีกในสมัยนั้น
หลังจากที่อาร์คิมีดีส จบการศึกษาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของพระเจ้าเฮียโร งานชิ้นเอกที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือกฎของอาร์คิมีดีส (Archimedes Principle) หรือ วิธีการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ (SpecificGravity) ซึ่งเรื่องเกิดขึ้นจากกษัตริย์เฮียโรทรงมีรับสั่งให้ช่างทำมงกุฎทองคำ โดยมอบทองคำให้ช่างทองจำนวนหนึ่ง เมื่อช่างทอง
นำมงกุฎมาถวาย ทรงเกิดความระแวงในท่าทางของช่างทำทองว่าจะยักยอกทองคำไป และนำโลหะชนิดอื่นมาผสม แต่ทรงไม่สามารถหาวิธีพิสูจน์ได้ ดังนั้นจึงทรงมอบหมายหน้าที่ การค้นหาข้อเท็จจริงให้กับอาร์คิมีดีส ขั้นแรกอาร์คิมีดีสได้นำมงกุฎทองไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าน้ำหนักของมงกุฎเท่ากับทองที่กษัตริย์เฮียโรได้มอบให้ไป ซึ่งช่างทองอาจจะนำโลหะชนิดอื่นมาผสมลงไปได้ อาร์คิมีดีสครุ่นคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกสักที จนวันหนึ่งเขาไปอาบน้ำที่อ่างอาบน้ำสาธารณะแห่งหนึ่ง ขณะที่น้ำในอ่างเต็ม อาร์คิมีดีสลงแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ น้ำก็ล้นออกมาจากอ่างนั้น เมื่อเขาเห็นเช่นนั้นทำให้เขารู้วิธีพิสูจน์น้ำหนักของทองได้สำเร็จ ด้วยความดีใจเขาจึง รีบวิ่งกลับบ้านโดยที่ยังไม่ได้สวมเสื้อผ้า ปากก็ร้องไปว่า "ยูเรก้า! ยูเรด้า! (Eureka)" จนกระทั่งถึงบ้าน เมื่อถึงบ้านเขารีบนำมงกุฎ
มาผูกเชือกแล้วหย่อนลงในอ่างน้ำที่มีน้ำอยู่เต็ม แล้วรองน้ำที่ล้นออกมาจากอ่าง จากนั้นจึงนำทองในปริมาตรที่เท่ากันกับมงกุฎหย่อน ลงในอ่างน้ำ แล้วทำเช่นเดียวกับครั้งแรก จากนั้นเขาได้นำเงินในปริมาตรที่เท่ากับมงกุฎ มาทำเช่นเดียวกับมงกุฎและทอง ผลการทดสอบปรากฏว่า ปริมาตรน้ำที่ล้นออกมานั้น เงินมีปริมาตรน้ำมากที่สุด มงกุฎรองลงมา และทองน้อยที่สุด ซึ่งจากผลการทดลอง
ครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ช่างทองนำเงินมาผสมเพื่อทำมงกุฎแน่นอนมิฉะนั้นแล้วปริมาตรน้ำของมงกุฎและทองต้องเท่ากัน เพราะเป็นโลหะชนิดเดียวกัน อาร์คิมีดีสได้นำความขึ้นกราบทูลกษัตริย์เฮียโรให้ ทรงทราบ อีกทั้งแสดงการทดลองให้ชมต่อหน้าพระพักตร์ เมื่อช่างทองเห็นดังนั้นก็รีบรับสารภาพแล้วนำทองมาคืนให้กับกษัตริย์เฮียโรการค้นพบครั้งนี้ของอาร์คิมีดีส ได้ตั้งเป็นกฎชื่อว่ากฎ
ของอาร์คิมีดีส ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำหลักการเช่นเดียวกันนี้มาหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุต่าง ๆ
อาร์คิมีดีสไม่เพียงแต่พบวิธีหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุได้เท่านั้น งานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็คือ การสร้างระหัดวิดน้ำ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระหัดเกลียวของอาร์คิมีดีส (Archimedes Screw)" เพื่อใช้สำหรับวิดน้ำขึ้นมาจากบ่อหรือแม่น้ำ สำหรับใช้ใน การอุปโภคหรือบริโภค ซึ่งทำให้เสียแรงและเวลาน้อยลงไปอย่างมาก การที่อาร์คิมีดีสคิดสร้างระหัดวิดน้ำขึ้นมานั้น ก็เพราะเขาเห็นความลำบากของชาวเมืองในการนำน้ำขึ้นจากบ่อหรือแม่น้ำมาใช้ ซึ่งต้องใช้แรงและเสียเวลาอย่างมาก ระหัดวิดน้ำของอาร์คิมีดีสประกอบ ไปด้วยท่อทรงกระบอกขนาดใหญ่ภายในเป็นแกนระหัด มีลักษณะคล้ายกับดอกสว่าน เมื่อต้องการใช้น้ำ ก็หมุนที่ด้ามจับระหัดน้ำก็จะไหลขึ้นมาตามเกลียวระหัดนั้น ซึ่งต่อมามีผู้ดัดแปลงนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การลำเลียงถ่านหินเข้าสู่เตา และนำเถ้าออกจากเตา การบดเนื้อสัตว์ เป็นต้น
นอกจากนี้อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์เครื่องผ่อนแรงขึ้นอีกหลายชิ้น เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชาวเมือง ได้แก่ คานดีดคานงัด (Law of Lever) ใช้สำหรับในการยกของที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ใช้ไม้คานยาวอันหนึ่ง และหาจุดรองรับคานหรือจุดฟัลครัม (Fulcrum) ซึ่งเมื่อวางของบนปลายไม้ด้านหนึ่ง และออกแรงกดปลายอีกด้านหนึ่ง ก็จะสามารถยกของ ที่มีน้ำหนักมากได้อย่างสบาย
นอกจากคานดีดคานงัดแล้ว อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์รอก ซึ่งเป็นเครื่องกลสำหรับยกของหนักอีกชนิดหนึ่ง เครื่องกลผ่อนแรงทั้งสองชนิดนี้ อาร์คิมีดีสคิดค้นเพื่อกะลาสีเรือหลวงที่ต้องยกของหนักเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีส มีอีกหลายอย่าง ได้แก่ รอกพวง ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับรอกและล้อกับเพลา ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายของที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนัก
มาก เช่น ก้อนหิน เป็นต้น เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีสถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชากลศาสตร์ และยังเป็นที่นิยมใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งได้มีการนำเครื่องกลผ่อนแรงเหล่านี้มาเป็นต้นแบบเครื่องกลที่สำคัญในปัจจุบัน เช่น ล้อกับเพลา มาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนของรถยนต์ เป็นต้น อาร์คิมีดีสไม่ได้เพียงแต่สร้างเครื่องกลผ่อนแรงเท่านั้น เขายังมีความชำนาญเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
เขาสามารถคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของทรงกรวย ทรงกลม และทรงกระบอกได้ โดยใช้สูตรทางคณิตศษสตร์ที่เขาเป็นคนคิดค้นขึ้น และหาค่าของ p ซึ่งใช้ในการหาพื้นที่ของวงกลม ในปี 212 ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพโรมันยกทัพเข้าตีเมืองไซราคิวส์ โดยยกทัพเรือมาปิดล้อมเกาะไซราคิวส์ไว้ อาร์คิมีดีสมีฐานะนักปราชญ์ประจำราชสำนัก จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพบัญชาการรบป้องกัน บ้านเมืองครั้งนี้ อาร์คิมีดีสได้ประดิษฐ์อาวุธขึ้นหลายชิ้นในการต่อสู้ครั้งนี้ ได้แก่ เครื่องเหวี่ยงหิน โดยอาศัยหลักการ ของคานดีดคานงัด เครื่องเหวี่ยงหินของอาร์คิมีดีสสามารถเหวี่ยงก้อนหินข้ามกำแพงไปถูกเรือของกองทัพโรมันเสียหายไปหลายลำ
อาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ อาร์คิมีดีสประดิษฐ์ขึ้น คือ โลหะขัดเงามีลักษณะคล้ายกระจกเว้าสะท้อนแสงให้มีจุดรวมความร้อนที่สามารถทำให้เรือของกองทัพโรมัน ไหม้ไฟได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องกลอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับตอรืปิโดในปัจจุบัน เรียกว่า "เครื่องกลส่งท่อนไม้" ซึ่งใช้ส่งท่อนไม้ขนาดใหญ่ด้วยกำลังแรงให้แล่นไปในน้ำ เพื่อทำลายเรือข้าศึก กองทัพโรมันใช้เวลานานถึง
3 ปี กว่าจะยึดเมืองไซราคิวส์ได้สำเร็จ แต่มิได้แพ้เพราะกำลังหรือสติปัญญา แต่แพ้เนื่องจากความประมาท ด้วยในขณะนั้นภายในเมืองไซราคิวส์กำลังเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน เมื่อตีเมืองไซราคิวส์สำเร็จ แม่ทัพโรมัน มาร์เซลลัส (Marcellus) ได้สั่ง ให้ทหารนำตัวอาร์คิมีดีสไปพบเนื่องจากชื่นชมในความสามารถของอาร์คิมีดีสเป็นอย่างมาก ในขณะที่ตามหาอาร์คิมีดีส ทหารได้พบกับอาร์คิมีดีสกำลังใช้ปลายไม้ขีดเขียนบางอย่างอยู่บนพื้นทราย แต่ทหารผู้นั้นไม่รู้จักอาร์คิมีดีส เมื่อทหารเข้าไปถามหาอาร์คิมีดีสเขากลับตวาด ทำให้ทะเลาะวิวาทกัน ทหารผู้นั้นใช้ดาบแทงอาร์คิมีดีสจนเสียชีวิต เมื่ออาร์เซลลัสทราบเรื่องก็เสียใจเป็นอย่างมากที่ต้องสูญเสียนักปราชญ์ที่มีความสามารถ อย่างอาร์คิมีดีสไป ดังนั้นเขาจึงรับอุปการะครอบครัวของอาร์คิมีดีสและสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อให้ระลึกถึงความสามารถของอาร์คิมีดีส อนุสาวรีย์แห่งนี้มีลักษณะรูปทรงกลมอยู่ในทรงกระบอก
จากผลงานการประดิษฐ์เครื่องกลผ่อนแรงของอาร์คิมีดีส ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ อังตวน แวน เลเวนฮุค : Antoine Van Leeuwenhook
อังตวน แวน เลเวนฮุค : Antoine Van Leeuwenhook
เกิด วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ที่เมืองเดลฟท์ (Delft() ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
เสียชีวิต วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1723 ที่เมืองเดลฟท์ (Delft() ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
ผลงาน - ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์
- ค้นพบจุลินทรีย์
แม้ว่าชื่อของเลเวนฮุคจะไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนักในวงการวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าพูดถึงกล้องจุลทรรศน์แล้วไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้จักและรู้ถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของกล้องจุลทรรศน์อันนี้ และผู้ที่ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์นั่นก็คือ อังตวน แวน เลเวนฮุคเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์สังเกตดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเขาซึ่งยังไม่เคยมีใครสนใจหรือศึกษามาก่อน เพราะสัตว์บางประเภทที่เขาศึกษาไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ จุลินทรีย์ การค้นพบจุลินทรีย์ของเลเวนฮุคสร้างประโยชน์ในวงการแพทย์ และวงการวิทยาศาสตร์อย่างมากในเวลาต่อมา
เลเวนฮุคเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ที่เมืองเดลฟท์ ประเทสเนเธอร์แลนด์ ในครอบครัวของชนชั้นกลาง บิดาของเขามีอาชีพต้มกลั่นและสานตะกร้า ซึ่งเสียชีวิตหลังจากที่เขาเกิดมาได้เพียงไม่กี่ปี ทำให้ครอบครัวของเขายากจนและได้รับความลำบากแม่ของเขาต้องทำหน้าที่หารายได้เลี้ยงครอบครัวเพียงลำพัง เลเวนฮุคไม่ได้รับการศึกษาสูงนัก แต่ก็ยังมีโอกาสได้รับการศึกษาจน
อายุได้ 16 ปี จึงได้ลาออกจากโรงเรียน และได้เดินทางไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์เพื่อหางานทำ เลเวนฮุคได้งานทำในตำแหน่งเสมียน และทำบัญชีสินค้าของร้านจำหน่ายสินค้าแห่งหนึ่ง เลเวนฮุคทำงานอยู่ที่นี่นานถึง 5 ปี จึงลาออก เพื่อกลับบ้านที่เมืองเดลฟท์ เลเวนฮุคใช้เงินที่เขาเก็บไว้เมื่อครั้งที่ทำงานมาเปิดร้านค้าจำหน่ายเสื้อผ้าและ
ของใช้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่นเดียวกับร้านที่เคยทำงาน ส่วนเวลาว่างในช่วงหัวค่ำเขาได้รับจ้างเป็นยามรักษาการณ์ให้กับศาลาประชาคมของเมืองเดลฟท์ (Delft City Hall) ซึ่งเขาทำงานในตำแหน่งนี้จนกระทั่งเสียชีวิต
แม้ว่าเลเวนฮุคจะได้รับการศึกษามาน้อย แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนช่างสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัวอย่างละเอียด อีกทั้งด้วยความที่เป็นคนตระหนี่ทำให้เมื่อแว่นขยายที่ใช้ส่องดูผ้าภายในร้านหล่นจนร้าว เขาก็ไม่ได้ซื้อใหม่ แต่จะพยายามฝนเลนส์ให้สามารถใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเลนส์ที่เขาฝนขึ้นมาเองนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าเลนส์ที่วางขายอยู่ตามทั่วไปเสียอีก ซึ่งการฝนเลนส์ต่อมากลายเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งของเลเวนฮุค เขาใช้ความพยายามในการฝนเลนส์ให้มีขนาดเล็กมาก และในที่สุดเขาก็สามารถฝนเลนส์ที่มีขนาดเพียง 1/8 นิ้ว หรือประมาณเท่ากับหัวไม้ขีดไฟเท่านั้น จากนั้นเขาจึงนำเลนส์มาสร้างเป็นกล้องจุลทรรศน์ โดยใช้หลักการเดียวกับกาลิเลโอที่ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ แต่แทนที่จะใช้ทมองสิ่งที่อยู่ไกล กลับใช้มองสิ่งใกล้ ๆ และขยายให้ใหญ่ขึ้น โดยกล้อง
จุลทรรศน์ของเลเวนฮุคประกอบไปด้วยเลนส์นูน 2 อัน ซ้อนกันและประกบติดไว้กับโลหะ 2 ชิ้น ส่วนด้านบนเป็นช่องมองและมีด้ามสำหรับถือ อีกทั้งยังมีสกูรสำหรับปรับความคมชัดของภาพ เลเวนฮุคสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากถึง 300 เท่า
หลังจากที่เลเวนฮุคประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์สำเร็จ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษารรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา เช่น พืชแมลง ขนสัตว์ และสิ่งต่าง ๆ อีกหลายชนิด แม้แต่ในน้ำส้มสายชู หรือในน้ำซุป เขาก็ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู วันหนึ่งเลเวนฮุคได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูน้ำที่ขังอยู่บนพื้นดิน ปรากฏว่าเขาสามารถมองเห็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา
เปล่า เลเวนฮุคเรียกสัตว์จำพวกนี้ว่า "Wretahed Beasties" เลเวนฮุคได้อธิบายลักษณะของสัตว์บางตัวที่เขาเห็นว่า ตัวของมันเป็นเม็ดกลมใสหลาย ๆ อันมาต่อกัน และมีเขาสองอันซึ่งใช้สำหรับการเคลื่อนที่
เมื่อเขาเห็นสัตว์พวกนี้ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ เขามีความสงสัยต่อไปอีกว่า สัตว์เหล่านี้มาจากที่ไหน ซึ่งนำไปสู่การค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับเรื่องจุลินทรีย์ ในขั้นแรกเขาได้รองน้ำฝนที่ตกจากท้องฟ้าใหม่ ๆ ใส่ลงในภาชนะที่ล้างสะอาด มาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าพบจุลินทรีย์เพียง 2 - 3 ตัวเท่านั้น ซึ่งเลเวนฮุคสันนิษฐานว่าติดมาจากรางรองน้ำฝน หลังจากนั้นเขานำน้ำฝน
มาวางไว้กลางแจ้ง 4 วัน แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่ามีสัตว์ตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก เขาได้นำสัตว์เหล่านี้ไปเทียบสัดส่วนกับหมัดกันเนย พบว่ามีขนาดแตกต่างกันถึง 2,000 - 3,000 เท่า ผลจากการทดลองของเลเวนฮุคสามารถสรุปได้ว่าสัตว์เหล่านี้ไม่ได้มาจากท้องฟ้าอย่างที่เข้าใจกัน แต่มากับลมที่พัดสัตว์เหล่านี้มาจากที่แห่งใดสักที่หนึ่ง ต่อมาพอล เดอ คราฟ
(Paul de Kruif) นักแบคทีเรียวิทยาชาวอเมริกัน ทำการวิจัย และพบว่าสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้เป็นตัวเชื้อโรคที่ทำให้คนเจ็บป่วยได้ ระหว่างนี้เลเวนฮุคก็ได้ปรับปรุงกล้องจุลทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
เลเวนฮุคมักใช้กล้องของเขาส่องดูตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น จากแอ่งน้ำบนถนน ซึ่งพบว่ามีสัตว์เหล่านี้จำนนมากมายมหาศาลกว่าที่ใด ๆ และพบสัตว์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เขาเคยได้เห็นมาก่อน ครั้งหนึ่งเลเวนฮุคได้ทดลองนำน้ำทะเลมาส่องกล้องดู เขาพบว่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ สีดำลักษณะเป็นเม็ดกลม 2 อัน ต่อกัน ในขณะที่มันเคลื่อนไหวจะใช้วิธีกระโดดไปเช่นเดียวกับหมัด แต่มีขนาดเล็กกว่า
กันถึง 1,000 เท่า ดังนั้นเขาจึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า "หมัดน้ำ" เลเวนฮุคยังคงค้นหาจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ของเขาต่อไป ซึ่งเขาได้พบจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ กว่า 100 ชนิด ซึ่งบางประเภทมีขนาดเล็กกว่าเม็ดทรายถึง 1,000 เท่า
ผลงานการค้นพบของเลเวนฮุคยังไม่ได้รับการเผยแพร่ออกไป จนกระทั่งวันหนึ่งเขามีโอกาสได้พบกับ ดอกเตอร์เรคนิเออร์เดอ กราฟ (Dr. Regnier de Graaf) นักชีววิทยาชาวดัทซ์ บอกให้เขาลองส่งผลงานไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (RoyalSociety of London) เมื่อทางสมาคมได้รับจดหมายฉบับแรกของเลเวนฮุค ภายในจดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับ สิ่งที่เขาค้นพบจากกล้องจุลทรรศน์ เช่น เหล็กไนของผึ้ง เชื้อราที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง เป็นต้น หลังจากนั้น เลเวนฮุคก็เขียนเล่าในสิ่งที่เขาค้นพบลงในจดหมาย ส่งให้กับราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอนอย่างสม่ำเสมอในปี ค.ศ. 1674 เลเวนฮุค ได้เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเส้นเลือดฝอยกับเส้นโลหิตใหญ่ และเส้นเลือดดำ โดยการค้นพบครั้งนี้ถือเป็นการสนับสนุนทฤษฎีระบบการไหลเวียนโลหิตของวิลเลี่ยม ฮาร์วี่ (William Harvey) นายแพทย์ชาวอังกฤษ ที่ยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่ ไม่เพียงเท่านี้เขายังสามารถอธิบายลักษณะของเม็ดโลหิตได้อย่างละเอียดทั้งของคนที่มีลักษณะเป็นทรงกลม ของสัตว์จำพวกนก ปลา และกบ ว่ามีลักษณะเป็นวงรี นอกจากนี้เขาได้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ผม และรังไข่ ซึ่งเขาอธิบานเกี่ยวกับเชื้อสืบพันธุ์ได้อย่างละเอียด
เลเวนฮุคยังเขียนจดหมายไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอนอีกหลายฉบับ เป็นต้นว่าการค้นพบโปรโตซัว (Protozoa) แบคทีเรีย (Bacteria) แม้แต่เรื่องราวของสัตว์เล็ก ๆ อย่างมด ที่ไม่มีผู้ใดสนใจ แต่เลเวนฮุคก็ให้ความสนใจ และศึกษาวงจรชีวิตของมดอย่างจริงจัง ตั้งแต่มดวงไข่ไว้บนต้นกระบองเพชร และเมื่อออกจากไข่เป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตต่อไปจนตาย นอกจากมด
แล้วเลเวนฮุคยังได้ศึกษาวงจรชีวิตของหอยกาบ การชักใยของแมงมุมและวงจรเพลี้ย ทำให้เขารู้ว่าเพลี้ยเป็นตัวการสำคัญในการทำลายพืชผลของเกษตรกร หมัดเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่เลเวนฮุคให้ความสนใจ เมื่อเขาศึกษาอยู่ระยะหนึ่ง เลเวนฮุคพบว่าอันที่จริงแล้วหมัดเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีการสืบพันธุ์ และมีวงจรชีวิตเช่นเดียวกับสัตว์อื่น ไม่ได้เกิดจากพื้นดิน หรือสิ่งที่เน่าเปื่อยอย่างที่เข้าใจ
กันมา ซึ่งอันนี้รวมถึงปลาไหล ปลาดาว และหอยทากด้วย จากความพยายามของเลเวนฮุคในที่สุดเขาก็ค้นพบสัตว์ชั้นต่ำประเภท เซลล์เดียว เป็นต้นว่า วอลวอกซ์ (Volvox) และไฮดรา (Hydra) การค้นพบนี้ถือว่าสำคัญมาก เนื่องจากสิ่งที่เลเวนฮุคค้นพบสามารถลบล้างความเชื่อเก่าเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่า "การเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต คือสิ่งไม่มีชีวิต (Spontaneous Generation)"
แม้ว่าเลเวนฮุคจะส่งจดหมายไปยังราชสมาคมฯ หลายฉบับ แต่ทางราชสมาคมฯ ก็ยังไม่เชื่อข้อความในจดหมายเหล่านั้นแต่เมื่อเลเวนฮุคส่งจดหมายไปอย่างสม่ำเสมอทำให้ทางราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน เริ่มเกิดความไม่แน่ใจว่าเรื่องในจดหมายของเลเวนฮุคอาจจะเป็นเรื่องจริงก็ได้ ทางราชสมาคมฯ จึงติดต่อขอยืมกล้องจุลทรรศน์ของเลเวนฮุค แต่เนื่องจากเขาได้พัฒนากล้อง
จุลทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย จึงไม่สะดวกในการขนส่ง ทำให้ทางราชสมาคมฯ สั่งให้โรเบิร์ต ฮุค(Robert Hooke) สร้างกล้องจุลทรรศน์ขึ้น เมื่อสร้างเสร็จทางราชสมาคมฯ ได้ส่องดูสิ่งต่าง ๆ ตามที่เลเวนฮุคเขียนเล่ามาในจดหมาย ซึ่งก็พบว่าจริงตามจดหมายนั้นทุกอย่าง ทำให้ทางราชสมาคมฯ เชื่อถือและยอมรับเลเวนฮุคเข้าเป็นสมาชิกของราชสมาคมฯ ในปี ค.ศ. 1680 และต่อมาอีก 17 ปี เขาได้รับการยกย่องอีกครั้งหนึ่งด้วยการได้รับเชิญจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศฝรั่งเศส (France Academy of Science)
ผลงานการค้นพบสิ่งต่าง ๆ ของเลเวนฮุค ในรุปแบบของจดหมายที่ส่งไปยังราชสมาคมฯ ที่มีมากมายกว่า 375 ฉบับ ในระยะเวลากว่า 50 ปี ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารของราชสมาคมฯ โดยใช้ชื่อว่า Philosophical Transaction of the Royal Socity, London และเมื่อผลงานของเขาเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่ามีผู้คนให้ความสนใจจำนวนมาก ทั้งนักปราชญ์ ราชบัณฑิต นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ รวมถึงขุนนาง และพระมหากษัตริย์ด้วย ในปี ค.ศ. 1697 พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter theGreat) กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของรัสเซีย ทรงเสด็จมาหาเลเวนฮุคที่เมืองเดลฟท์ และใช้เวลาหลายชั่วโมงในการทอดพระเนตรผลงาน ของเลเวนฮุคผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ เป็นต้นว่า ระบบการไหลเวียนโลหิตในส่วนหางของปลาไหล แบคทีเรีย และแมลง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญอย่างพระเจ้าจักรพรรดิแห่งเยอรมนีและพระราชินีแห่งอังกฤษ มาเยี่ยมชมผลงานของเขาที่บ้านอีกด้วย
เลเวนฮุคใช้เวลาตลอดทั้งชีวิตของเขาในการศึกษา ค้นคว้า และเฝ้าสังเกตสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ที่เขาเป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งมากมายจนไม่สามารถบรรยายได้หมด ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างคุณประโยชน์ให้กับวงการวิทยาศาสตร์ แพทย์ และชีววิทยาทั้ง ๆที่เขาไม่ได้รับการศึกษาสูงนัก อีกทั้งไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เลย แต่ด้วยความขยัน พยายาม และมุ่งมั่น ในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จและได้รับการยกย่องจากสมาคมที่มีชื่อเสียงอย่างราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ซึ่งมีสมาชิกล้วนแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถ รวมถึงสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศฝรั่งเศสด้วย
เลเวนฮุคเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1723 ด้วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หลังจากที่เลเวนฮุคเสียชีวิตไปแล้ว ชาวเมืองเดลฟท์ได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ ณ โบสถ์แห่งหนึ่งใจกลางเมืองเดลฟท์ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาที่สร้างคุรประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับชาวเมืองเดลฟท์ และสาธารณชนอย่างมหาศาล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Antoine Laurent Lavoisier
อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Antoine Laurent Lavoisier
เกิด วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน - พบสมบัติของการสันดาป หรือการเผาไหม้
หลังจากยุคของโรเบิร์ต บอลย์ (Robert Boyle) ผ่านมา วิชาเคมีก็มีความเจริญก้าวหน้ามาตลอด จนกระทั่งถึงยุคของ ลาวัวซิเยร์วิชาเคมียิ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก เนื่องจากผลงานการค้นพบทางเคมีของเขาหลายชิ้น
ลาวัวซิเยร์เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นผู้ที่มั่งคั่งที่สุด ในปารีสก็ว่าได้ทั้งบิดาและมาตดาของเขาต่างก็มาจากตระกูลที่มั่งคั่งบิดาของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายแระจำรัฐสภา ชื่อว่า ฌาน อังตวน ลาวัวซิเยร์ (Jean Anton Lavoisier) ส่วนมารดาชื่อว่า เอมิลี่ ปุงตีส เป็นบุตรีของเลาขานุการ ของนายทหารเรือ ยศนายพลเรือโทและยังเป็นทนายความชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นสมาชิกรัฐสภากรุงปารีสอีกด้วย เมื่อลาวัวซิเยร์อายุได้ 7 ปี มารดาเขา เสียชีวิต บิดาได้ส่งลาวัวซิเยร์ไปอยู่กับน้า เนื่องจากฐานะทางครอบครัวที่ร่ำรวยของลาวัวซิเยร์ทำให้เขาได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจากที่จบการศึกษาเบื้องต้นแล้ว พ่อของเขาก็ส่งเขาไปเรียนต่อวิชากฎหมายที่วิทยาลัยมาซาริน (Mazarin College) ด้วยพ่อ ของเขาต้องการให้เขาเป็นทนายเช่นเดียวกับพ่อและตานั่นเองในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแห่งนี้ เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ มากมาย รวมถึงวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้เมื่อเขาเรียนจบวิชากฎหมาย ลาวัวซิเยร์ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นทนายความ แต่กลับ ไปศึกษาต่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แทน โดยเฉพาะวิชาเคมี ลาวัวซิเยร์เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หรือวิชาอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) โดยเขาใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของอากาศวันละหลาย ๆ ครั้งแล้วจดบันทึก อุณหภูมิไว้ทุกครั้ง และทำเช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเขาเสียชีวิต และด้วยวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ต่อมาเขา สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1765 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเคมี โดยครั้งแรกเขาได้ทดลองเกี่ยวกับแร่ยิปซัม (Gypsum) ภายหลังการทดลองลาวัวซิเยร์พบสมบัติของแร่ยิปซัมที่ว่าเมื่อนำแร่ยิปซัมมาเผาเพื่อทำปูนปลาสเตอร์จะมีไอน้ำระเหยออกมา และเมื่อ เย็นตัวลงจะหลายเป็นน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งน้ำหนักเท่ากับปูนปลาสเตอร์ที่ผาได้จากแร่ยิปซัม และจากผลการทดลองครั้งนี้ลาวัวซิเยร์ได้ทำ รายงานเสนอต่อราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (France Academy Royal of Science) ให้กำหนด มาตราในการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์เห็นด้วย และแต่งตั้งให้ ลาวัวซิเยร์ เป็นกรรมการศึกษาเรื่องนี้ในที่สุดลาวัวซิเยร์ก็ตกลงในระบบเมตริก (Metric system) ในการชั่ง ตวง วัด ซึ่ง ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ก็ตกลงเห็นชอบ และกำหนดให้ใช้ระบบเมตริกเป็นมาตราในการทดลองวิทยาศาสตร์ และยังคง ใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1767 ลาวัวซิเยร์ได้รับเชิญจากศาสตราจารย์กูเอท์ตาด (J.E.Guettard) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแร่ธาตุและธรณีวิทยา ชาวฝรั่งเศส ให้ร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจทางธรณีวิทยา ที่จะทำการสำรวจหาแร่ธาตุ และลักษณะทางธรณีทั่วประเทศฝรั่งเศส จากการสำรวจครั้งนี้ ลาวัวซิเยร์ได้เขียนแผนที่แสดงทรัพยากรทางธรรมชาติภายในประเทศฝรั่งเศส แผนที่ฉบับนี้ถือว่าเป็นแผนที่ แสดงทรัพยากรธรณีฉบับแรกของฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1768 ขณะที่เขามีอายุเพียง 25 ปี ลาวัวซิเยร์ได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่ง ฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างมาก เพราะสมาคมแห่งนี้เป็นที่รวมของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ทุกสาขาวิชา อีกทั้งผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี อีกทั้งสมาชิกในสมาคมนี้ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ให้กับรัฐบาล นอกจากราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ เขายังได้รับเชิญจากองค์การแฟร์มเจอเนรอล (Ferme Generale) ซึ่งเป็นองค์การเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้รู้จักและแต่งงานกับมารีแอน พอลซ์ (Marie Ann Paulze) บุตรสาวของจาคส์ พอลซ์ (Jacques Paulze) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในองค์การแฟร์ม เจอเนรอล มารีแอนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของลาววัวซิเยร์ เพราะเธอมีความรู้หลายภาษา จึงแผลตำราวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หลายท่าน อีกทั้งยังเป็นผู้วาดภาพประกอบลงในรายงานทางวิทยาศาสตร์ของลาวัวซิเยร์อีกด้วย
ต่อมาลาวัวซิาเยร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโรงงานผลิตดินปืนของรัฐอีกตำแหน่งหนึ่งเพราะเขา เป็นผู้เสนอต่อเทอร์โกต์ (Turgot) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังให้รัฐควบคุมกิจการดินปืนไว้เอง ด้วยในขณะนั้นภายในกรุงปารีส มีการผลิตดินปืนกันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เทอร์โกต์ก็เห็นด้วยกับลาวัวซิเยร์ จึงสั่งห้ามมิให้ประชาชนผลิตดินปืน เอง โรงงานผลิตดินปืนของรัฐบาลฝรั่งเศสแห่งนี้สามารถทำรายได้ให้กับประเทศฝรั่งเศสอย่างมหาศาล ด้วยในขณะนั้นประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ทำสงครามกอบกู้เอกราชกับประเทศอังกฤษ จำเป็นต้องใช้ดินปืนจำนวนมากในสงคราม จึงเป็นหนทางที่ดีของ ฝรั่งเศสที่จะจำหน่ายดินปืนให้กับสหรัฐอเมริกาในจำนวนมาก
แม้ว่าลาวัวซิเยร์จะต้องทำหน้าที่ในหน่วยราชการหลายอย่าง เขาก็ยังมีเวลาส่วนหนึ่งสำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใน ปี ค.ศ. 1772 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองสมบัติของเพชรเขาทำการทดลองโดยการนำเพชรใส่ไว้ในภาชนะแก้วปิดสนิท และใช้ แว่นขยายรับแสงให้ถูกเพชรเพื่อให้เกิดไฟเผาเพชร ปรากฏว่าเพชรหายไป แต่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) เข้ามาอยู่ภายในภาชนะนั้นแทน แต่ถ้านำเพชรไปเผาในสูญญากาศ เพชรกลับไม่ไหม้ไฟ จากการทดลองพบว่าเพชรเป็นคาร์บอน ชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อนำไปเผาไฟเพชรจะกลายเป็นก๊าซ เพชรจึงไม่ใช่สิ่งวิเศษอย่างที่เคยเข้าใจกันมา ซึ่งการค้นพบนี้โจเซฟ แบลค (Joseph Black) นักเคมีชาวสก๊อตได้เขียนไว้ในหนังสือของเขา ต่อจากนั้นลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองต่อไป โดยนำโลหะมาเผา ไฟในที่ที่จำกัดประมาณอากาศ เขาพบว่าไฟจะไหม้ไปจนกว่าอาการจะหมด เมื่ออากาศหมดไฟก็จะดับ ลาวัวซิเยร์ได้นำผลการ ทดลองรายงานให้กับราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส โดยเขาสรุปผลการทดลองว่าสิ่งที่รวมกับโลหะ จนเกิดเป็นกาก โลหะ หรือที่เรียกว่า Clax คือ อากาศที่บริสุทธิ์กว่าอากาศที่อยู่ในธรรมชาติเสียอีก และเมื่อนำ Clax เผารวมกันกับถ่านจะได้ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของก๊าซ โลหะ และคาร์บอน
ปี ค.ศ. 1783 ลาวัวซิเยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเผาไหม้ของสารเคมี ซึ่งเกิดจากการทอลองเผาสารเคมีชนิดต่าง ๆ ของเขานั่นเอง ลาวัวซิเยร์สามารถค้นพบสมบัติของการเผาไหม้ของสารเคมีชนิดต่าง ๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การสันดาป" ว่าเกิดจากการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วระหว่างสารที่ติดไฟได้ กับออกซิเจน ซึ่งเขาตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีการเผาไหม้ (Theory of Combustion) ผลงานการทดลองชิ้นนี้ทำให้ลาวัวซิเยร์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ผู้คนพบ สาเหตุที่สสารต่าง ๆ ไหม้ไฟได้
ลาวัวซิเยร์สรุปทฤษฎีเกี่ยวกับการสันดาปออกเป็น 5 ข้อ ได้แก่
1. วัตถุจะไหม้ไฟได้ในเฉพาะที่ทีมีอากาศเท่านั้น
2. เมื่อนำอโลหะไปเผาไฟจะทำให้เกิดกรด (Acid) รวมถึงจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย
3. ในอากาศประกอบไปด้วยก๊าซ 2 ชนิด คือ ออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่ช่วยในการเผาไหม้และอาโซต (Azote)
4. ในการเผาไหม้จะไม่มีธาตุฟลยยิสตอน
5. เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ของโลหะ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเสมอไป
การที่ลาวัวซิเยร์สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่วัตถุไหม้ไฟได้ ทำให้สามารถลบล้างทฤษฎีฟลอยิสตอน (Phlogiston) ของจอร์จ เออร์เนส สตาห์ล (George Ernest Stahl) นักเคมีและนายแพทย์ ชาวเยอร์มัน โดยทฤษฎีนี้อธิบายเกี่ยวกับการไหม้ ของวัตถุว่า เกิดจากธาตุชนิดนั้นมีฟลอยิสตอนผสมอยู่ เมื่อนำวัตถุมาเผาไหม้และมีขี้เถ้า ทำให้น้ำหนักวัตถุลดลง นอกจากนี้เขายัง อธิบายถึงสาเหตุของวัตถุที่ไม่ติดไฟว่า เกิดจากไม่มีฟลอยิสตอนผสมอยู่ ทฤษฎีของสตาห์ลเป็นที่เชื่อถือในวงการวิทยาศาสตร์ นานกว่า 100 ปี แต่เมื่อลาวัวซิเยร์พบทฤษฎีเกี่ยวกับการสันดาปความเชื่นในทฤษฎีนี้ก็หมดไป
หลังจากนั้นลาวัวซิเยร์ทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีการเผาไหม้เพิ่มเติมอีกจนสามารรถตั้งกฎทรงมวลของสสาร (Law of the Conservation of Matter) อธิบายว่าสสารไม่สามารถสร้างขึ้นหรือทำให้หายไปได้ แต่สสารสามารถเปลี่ยนสถานะภาพได้ เช่น น้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำ จากทฤษฎีนี้เองได้นำลาวัวซิเยร์ไปสู่การทดลองเกี่ยวกับเผาไหม้ในร่างกายมนุษย์ลาวัวซิเยร์ได้อธิบายว่าใน ร่างกายของมนุษย์ก็มีการเผาไหม้เช่นเดียวกัน คือ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ก็จะถูกเปลี่ยนสภาพ หรือเผาผลาญ ให้เป็น พลังงาน และสิ่งที่ไม่ต้องการหรือขี้เถ้าก็จะถูกขับออกมาจากร่างกายในวิธีการต่าง ๆ เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ เป็นต้น และ ไม่เพียงอาหารเท่านั้น อากาศที่เราหายใจก็ต้องผ่านการเผาไหม้ที่ปอดเช่นเดียวกัน คือ เมื่อมนุษย์หายใจก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ปอดเพื่อ เปลี่ยนเลือดดำให้เป็นเลือดแดง ออกซิเจนที่ผ่านการเผาไหม้ก็จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในปี ค.ศ. 1787 ลาวัวซิเยร์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Method de Nomenclature Chimique เป็นเรื่อง เกี่ยวกับวิชาเคมีเบื้องต้น ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิชาเคมี และการเปลี่ยนชื่อสารเคมีบางชนิด ให้ถูกต้องตามสมบัติของสารชนิดนั้น อย่างแท้จริง ซึ่งมีมากมายกว่า 55 ชื่อเป็นต้นว่า Dephlogisticated air มาเป็น Oxygen เปลี่ยน Inflammable air แปลว่า สารติดไฟ มาเป็น Hydrogen หมายถึง ผู้ให้กำเนิดน้ำ ซึ่งชื่อสารเคมีที่ลาวัวซิเยร์เปลี่ยนยังเป็นชื่อที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1789 ลาวัวซิเยร์ได้เขียนหนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งว่า Traite Elementaire de Chimie ต่อมามีผู้แปลมาเป็น ภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อหนังสือว่า Elementary Treatise of Chemistry เป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ในปี ค.ศ. 1790 ประเทศฝรั่งเศสต้องประสบภาวะที่ย่ำแย่ที่สุด ทั้งเศรษฐกิจ และการเมืองจนในที่สุดเกิดการปฏิวัติใหญ่ใน ฝรั่งเศส โดยสภาคณะปฏิวัติต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในฝรั่งเศส และกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์ พระบรม วงศานุวงศ์ และขุนนางข้าราชการสำนักกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์จากแผ่นดิน และประชาชน สภาคณะปฏิวัติได้ยกกำลัง บุกเข้ายึดพระราชวังตูเลอรีส์ (Tuileries) และปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยวิธีกิโยตีน (Guillotine) เมื่องวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1793 ภายหลังจากพระเจ้าหลุยส์ถูกปลงพระชนม์ สภาคณะปฏิวัติได้สั่งยุบองค์แฟร์มเจอเนรัล พร้อมดับจับกุม ข้าราชการภายในองค์กรทั้ง 27 คน รวมทั้งลาวัวซิเยร์โดยสภาคณะปฏิวัติได้ตั้งข้อกล่าวหาคณะกรรมการทั้งหมดว่า ฉ้อราษฏร์ บังหลวง และกดขี่ข่มเหงประชาชนอย่างโหดร้าน แม้ว่าลาวัวซิเยร์จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ศาลของสภาคณะปฏิวัติก็พิจารณา ว่าลาวัวซิเยร์ผิด และตัดสินประหารชีวิตเขาด้วยเครื่องกิโยตีน
ลาวัวซิเยร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกเลย ทีเดียว ผลงานชิ้นสุดท้ายของลาวัวซิเยร์ก่อนที่จะเสียชีวิต คือ การหาความหนาแน่นของน้ำ ลาวัวซิเยร์พบว่าที่อุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียส น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุด นอกจากนี้แล้วเขายังได้อธิบายเกี่ยวกับการเกิดสนิมในโลหะการลุกไหม้ของไม้ และการ ระเบิดของดินปืน ซึ่งล้วนแต่เกิดจากก๊าซออกซิเจนทั้งสิ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ อังเดร มารี แอมแปร์ : Andre Marie Ampere
อังเดร มารี แอมแปร์ : Andre Marie Ampere
เกิด วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เมืองโปลีมีเยอร์ (Polemieux) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลล์ (Marseilles) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน - ค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กโลก
- ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor)
- ค้นพบสมบัติของไฟฟ้าและแม่เหล็ก
ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะฉะนั้นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือสิ่งที่มีความ สำคัญที่สุด และนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าก็คือ อังเดร มารี แอมแปร์ และถ้ากล่าวถึง แอมแปร์แล้วทุกคนต้องนึกถึงหน่วยวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำ ซึ่งชื่อนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้นี้ ที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดย 1 แอมแปร์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่สามารถแยกเงินบริสุทธิ์ออกจากสารละลาย เกลือเงินไนเตรท 0.1 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้น้ำหนัก 0.001118 กรัม ในเวลา 1 นาที
แอมแปร์เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เมืองโปลีมีเยอร์ ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีทำให้แอมแปร์ได้รับการศึกษาที่ดีแอมแปร์มีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างมาก โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ เขามี ความสนใจมากเป็นพิเศษจนมีความชำนาญในวิชา Differential Calculus ในขณะที่เขามีอายุเพียง 12 ปี เท่านั้นและในปี ค.ศ. 1793 เขาได้รับการยกย่องในฐานะนักคณิตศาสตร์ผู้มีความสามารถคนหนึ่งของฝรั่งเศสเลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 1974 เกิดการปฏิวัติ ใหญ่ในฝรั่งเศส ฝ่ายปฏิวัติต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และสามารถทำการได้สำเร็จ ฝ่ายปฏิวัติมีคำสั่งให้สังหารคน ที่ต้องสงสัยว่าเป็นฝ่ายกษัตริย์เป็นจำนวนมาก รวมถึงพ่อของแอมแปร์ด้วย หลังจากที่พ่อของเขาถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีน (Guillotine) ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมากและต้องลาออกจากโรงเรียน แอมแปร์ได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนแห่ง หนึ่ง ต่อจากนั้นได้เข้าทำงานเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชั้นมัธยม ที่เมืองลีอองส์ (Lyons) หลังจากนั้นอีก 2 ปี เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์สอนวิชา Analytical Calculus และกลศาสตร์ที่โรงเรียนโปลีเทคนิคแห่งฝรั่งเศส (Polytechnic School of France)
ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้เขาได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าภาควิชา คณิตศาสตร์และกลศาสตร์ในปี ค.ศ. 1809 และในปีเดียวกันนั้นแอมแปร์ได้เผยแพร่ผลงานของเขาออกมาหลายชิ้น ทั้งทางด้าน คณิตศาสตร์ เคมีและชีววิทยา จากผลงานดังกล่าว เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ (Institute of Art and Science) และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1804 เขาได้รับเชิญ จากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองบัวส์ (University of Boise) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และเคมี แต่โชค ร้ายที่ภรรยาของเขาเสียชีวิตทำให้แอมแปร์เสียใจมาก จึงตอบปฏิเสธทางมหาวิทยาลัยบัวส์ไป หลังจากต้องเสียภรรยาไปแล้วแอมแปร์ ได้ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการทดลอง ค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์
และในปี ค.ศ. 1820 มีนักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ฮานน์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans Christian Oersted) ได้เผยแพร่ผลงาน การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก เออร์สเตดเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University) การค้นพบของเขาเกิดขึ้นจากความบังเอิญ ในขณะที่เขาทำการบรรยายวิชาฟิสิกส์ในหัวข้อเรื่อง สมบัติของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย คือ แบตเตอรี่ สายไฟ และเข็มททิศเมื่อเออร์สเตดได้วางสายไฟซึ่งมีกระแส ไฟฟ้าไหลอยู่ลงใกล้กับเข็มทิศ ปรากฏว่าเข็มกระดิก สร้างความแปลกใจให้กับเออร์สเตดมาก เขาจึงทำการทดลองซ้ำอีกครั้งโดยการ วางสายไฟให้เข้าใกล้เข็มทิศมากขึ้น ปรากฏว่าเข็มกระดิกมากขึ้น จากการค้นพบครั้งนี้นำไปสู่ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็ก กับไฟฟ้า หรือ ทฤษฎีอิเล็กโทรแมกเนติซัม (Electro Magnetism Theory)
หลังจากแอมแปร์ได้ทราบข่าวการค้นพบครั้งนี้ เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าโดยครั้งแรกเขาได้ทำการทดลองตาม แบบเออร์สเตด หลังจากนั้นเขาได้สรุปสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า "เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจะทำให้รอบ ๆ ลวดตัวนำเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น" จากการทดลองครั้งนี้แอมแปร์สามารถสรุปได้ว่า ในแม่เหล็กอาจมีไฟฟ้าซ่อนอยู่หลังจากนั้นแอมแปร์ ได้ทำการทดลองโดยการต่อเส้นลวด 2 เส้น เข้ากับแบตเตอรี่และวางในแนวคู่ขนานกัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ถึงความ สัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้าว่า "อำนาจที่ได้จากแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าวงจรปิดแบบเดียวกัน ปรากฏว่าถ้าปล่อยกระแสไฟฟ้า ไปในทิศทางเดียวกัน ลวดทั้ง 2 เส้นจะผลักกัน แต่ถ้าปล่อยกระแสไฟฟ้าในทิศทางตรงข้ามกันลวดทั้ง 2 เส้นจะดึงดูดกัน ส่วนในแท่ง แม่เหล็กนั้น ถ้าหันขั้วเดียวกันเข้าหากันก็จะผลักกัน แต่ถ้าหันคนละขั้วจะดึงดูดกัน"
ต่อมาแอมแปร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเดินทางของกระแสไฟฟ้าบนลวดตัวนำต่อไปโดยการนำคอยล์ (Coil) หรือขดลวด มาพันซ้อนกันหลาย ๆ รอบจนกลายเป็นรูปทรงกระบอกหรือที่เรียกว่า "โซเลนอยด์ (Solenoid)" จากนั้นจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้า ไป ปรากฏว่าเกิดสนามแม่เหล็กภายในโซเลนอยด์ และจากการทดลองครั้งนี้ได้นำไปสู่การค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานแล้ว ว่าเหตุใดบริเวณขั้นโลกเหนือและใต้จึงมีอำนาจแม่เหล็กอยู่
แอมแปร์ทำการทดลองเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในทฤษฎีอันนี้ โดยการสร้างวงขดลวดไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งใช้ลวดลายมาพัน เป็นขดแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดทีละน้อย ผลปรากฏว่าเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะมีอำนาจเหมือนแท่งแม่เหล็ก นอกจากนี้เขายังพบว่ายิ่งพันขดลวดมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากขึ้น จากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า การเกิดแม่เหล็ก โลกเกิดจากโลกมีประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก และผลงานชิ้นนี้ได้นำไปสู่การสร้างสนามแม่เหล็ก และมอเตอร์ ไฟฟ้า
แอมแปร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลล์ ประเทศฝรั่งเศส
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ อัลเฟรด เบอร์นฮาร์ด โนเบล : Alfred Bernhard Nobel
อัลเฟรด เบอร์นฮาร์ด โนเบล : Alfred Bernhard Nobel
เกิด วันที่ 23 ตลาคม ค.ศ. 1833 ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm)
ประเทศสวีเดน (Sweden)
เสียชีวิต วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 ที่เมืองซานโรโม (San Romo) ประเทศอิตาลี (ltaly)
ผลงาน - ประดิษฐ์ระเบิดไดนาโมต์ (Dynamite)
- ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล
โนเบลผู้นี้เป็นผู้ที่ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในการที่เป็นมูลนิธิที่สนับสนุนและมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาต่าง ๆ อีกทั้งเขายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งโนเบลเป็นผู้ประดิษฐ์ ระเบิด ไดนาไมต์ที่มีอานุภาพร้ายแรงนอกจากนี้เขายังประดิษฐ์วัตถุสังเคราะห์อีกหลายชนิด เช่นไหมเทียม หนังเทียม และยางสังเคราะห์ เป็นต้น
โนเบลเกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1833 ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในครอบครัวที่ร่ำรวย บิดาของเขาเป็นเจ้าของ โรงงานผลิตวัตถุระเบิด และอาวุธ ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg) ประเทศรัสเซีย (Russia) ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างความ ร่ำรวยให้กับครอบครัวเขาอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามไครเมีย รัสเซียได้สั่งอาวุธสงครามจากโรงเรียนนี้เป็นจำนวนมาก และอาวุธที่ถูกสั่งจำนวนมากที่สุดก็คือระเบิด ระเบิดชนิดนี้บิดาของเขาได้สร้างขึ้นจากไนโตรกลีเซอรีนซึ่งระเบิดได้ง่ายมากและก็มี เพียงโรงงานของครอบครัวโนเบลเท่านั้นที่ผลิตระเบิดชนิดนี้ แต่เมื่อเกิดระเบิดขึ้นครั้งใด ไม่ว่าจะในสงครามหรือจากอุบัติเหตุที่เกิด ขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่นเรือสินค้าที่บรรทุกไนโตรกลีเซอรีนระเบิด โรงงานไนโตรกลีเซอรีน ในกรุงสตอกโฮล์ม ซิดนีย์ ซานฟราน ซิสโก และอีกหลายแห่งระเบิด ผู้คนก็มักจะกล่าวว่าโรงงานของโนเบลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดระเบิดเสมอ เพราะ โรงงานของเขา เป็นโรงงานที่ใหญ่ และมีความสำคัญมากที่สุด หลังจากจบการศึกษาแล้วโนเบลได้ศึกษาในวิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อจบการศึกษาแล้วโนเบลได้เข้ามาทำงานในโรงงานผลิตอาวุธของบิดาของเขานั่นเอง
จากความสำเร็จอย่างมากในการสร้างโรงงานที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบิดาเขาจึงเกิดความคิดที่จะสร้างโรงงานขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ กรุงสตอกโฮล์ม และเมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตโนเบลก็เป็นผู้ที่ได้รับมรดกทั้งหมดของครอบครัว เขาได้บริหารงานโรงงานให้มี ความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกันนี้เขาได้พยายามหาวิธีทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้นโนเบลใช้เวลาในการทดลอง ค้นคว้าหาวิธีนานหลายปีจนเกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย จนกระทั่งวันหนึ่งในปี ค.ศ. 1886 โนเบลได้ทำไนโตรกลีเซอรีนหยดลงพื้น เมื่อเป็นเช่นนั้นโนเบลจึงนำดินบริเวณที่ไนโตรกลีเซอรีนหกขึ้นมาแยกธาตุดู ซึ่งนับว่าเป็นผลดีอย่างมากให้กับโนเบล เพราะทำให้ โนเบลหาวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น โดยการนำไนโตรกลีเซอรีนมาผสมกับดินทราย แม้ว่าไนโตรกลีเซอรีนจะ ระเบิดได้ยากขึ้น แต่กลับส่งผลให้ระเบิดชนิดนี้มีอานุภาพรุนแรงมากขึ้น โนเบลตั้งชื่อระเบิดชนิดนี้ว่า ไดนาไมต์ ซึ่งเป็นระเบิดที่มี อานุภาพรุนแรง และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
แม้ว่าโนเบลจะพบวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น แต่เขากลับได้รับความเกลียดชังจากผู้คนรอบข้างเช่นเดิม เพราะไม่มีผู้ใดที่ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้เลย ในประเทศอังกฤษสินค้าของโนเบลถูกสั่งห้ามไม่ให้นำเข้าประเทศอย่างเด็ดขาด แม้แต่เจ้าของโรงแรมก็ยังไม่ยอมให้เขาเข้าพัก เนื่องจากเกรงว่าโนเบลจะนำไนโตรกลีเซอรีนติดตัวไปด้วย แต่โนเบลก็ไม่ละความ พยายาม เขาได้อธิบายให้รัฐบาลและคนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่เขาทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น และในที่สุดความพยายาม ของเขาก็เป็นผลสำเร็จ คือ รัฐบาลได้อนุญาตให้เข้าสร้างโรงงานในประเทศต่าง ๆ กว่า 10 ประเทศ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมนี ออสเตรีย และฝรั่งเศส เขาได้รับเงินทุนสนับสนุนจากทางพระเจ้านโปเลียนที่ 3 จากประเทศฝรั่งเศสให้ก่อสร้าง โรงงานด้วย ต่อมาโนเบลได้สร้างโรงงานในประเทศอังกฤษ ซึ่งในครั้งแรกทางรัฐบาลได้ห้ามอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดเขาก็สามารถ อธิบายให้รัฐบาลอังกฤษเข้าใจได้โนเบลสร้างโรงงานขึ้นอีกหลายแห่งทั่วโลก ได้แก่ แคนาดา บราซิล และญี่ปุ่น
ระเบิดไดนาไมต์เป็นผลงานชิ้นเดียวที่โนเบลสร้างขึ้นมา ซึ่งเป็นระเบิดที่มีอานุภาพแรงอย่างมาก แต่ระเบิดไดนาไมต์ไม่ได้ ทำลายล้างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประมาณปี ค.ศ. 1900 มีการขุดคลองปานามาขึ้นมาเพื่อเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอนแลนติก กับมหาสมุทรแปซิฟิก ระเบิดไดนาไมต์ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการนี้ด้วย ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี
หากจะกล่าวถึงโนเบลแล้ว เรื่องที่ควรจะกล่าวถึงมากที่สุด คือ มูลนิธิที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นและสาเหตุที่เขาก่อตั้งมูลนิธิขึ้น เนื่อง จากคำขอร้องจากเพื่อนของเขาคนหนึ่ง ที่เขาได้รู้จักในระหว่างที่โนเบลได้สร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นในกรุงปารีส เขาได้ประกาศ รับสมัครเลขานุการขึ้นและเบอร์ธา กินสกีหญิงสาวชาวออสเตรียนได้ส่งจดหมายมาสมัครและได้งานนี้ได้ ซึ่งเธอผู้นี้เป็นผู้มีบทบาท สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมูลนิธิโนเบลขึ้น กินสกีเป็นผู้หญิงที่ทำงานและมีอัธยาศัยดี ทำให้เข้ากับโนเบลได้เป็นอย่างดี แม้ว่าในขณะนั้น โนเบลมีอายุมากถึง 43 ปี แล้วก็ตาม ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันดีทั้งในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง และในฐานะเพื่อน ต่อมากินสกีได้ แต่งงานไปกับท่านเคานท์สุตเนอร์ และลาออกจากงาน แต่ทั้งสองก็ยังคบหากันในฐานะเพื่อนและติดต่อกันอยู่ตลอด กินสกีมักจะขอ ร้องให้โนเบลสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติบ้าง แทนที่จะสร้างอาวุธเพื่อการทำล้างลายแต่เพียงอย่างเดียวกินสกีได้เขียน หนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเกี่ยวกับพิษภัยของสงครามและอันตรายจากการสะสมอาวุธสงคราม หนังสือเล่มนี้ของกินสกีมีเพียงโนเบล เท่านั้นที่ได้อ่านและจากการอ้อนวอนของร้องจากเพื่อนที่รักที่สุดของโนเบล
เมื่อโนเบลเสียชีวิตในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 เขาได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 31 ล้านโครน ตั้งเป็นมูลนิธิโนเบล โดยมูลนิธินี้จะสนับสนุน และมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในสาขาต่าง ๆ 5 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ วรรณกรรม และสาขาสันติภาพ ซึ่ง 3 รางวัลเขามอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาวรรณกรรมนั้นเกิดขึ้นจาก นิสัยส่วนตัวของโนเบล ที่เป็นคนรักการอ่านและเขียน โดยเฉพาะในช่วงที่เขาถูกเกลียดชังอย่างมาก เขาได้เขียนพรรณนาความ ลำบากในชีวิตของเขาลงในหนังสือ ส่วนรางวัลสันติภาพเขาได้ทำตามคำร้องขอของกินสกีเพื่อรักของเขา รางวัลโนเบลถือว่าเป็น รางวัลที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกเลยทีเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ประวัติและผลงานของ อาเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง : Alexander Flemming
อาเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง : Alexander Flemming
เกิด วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1881 ที่เมืองล็อกฟิลด์ แอร์ (Logfield Air)ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)
เสียชีวิต วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1955 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน - ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งชื่อว่าเพนนิซิเลียม (Penicilliam) ต่อมาได้นำมาสกัด เป็นยาชื่อว่า เพนนิซิลิน (Penicilin)
- ค.ศ.1946 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเชน
เฟลมมิ่งเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1881 ที่เมืองล็อกฟิลด์ แอร์ ประเทศสก็อตแลนด์ บิดาของเขาชื่อฮิวจ์ เฟลมมิ่ง (Hugh Flaming) เฟลมมิ่งเป็นเด็กที่มีความซุกซน ฉลาดหลักแหลม เมื่ออายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือ บิดาได้ส่งเฟลมมิ่งเข้าเรียนที่โรงเรียน คาร์เวล (Carwell School) หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่คิลมาร์น็อก อะเคดามี (Kilemanox Academy) ต่อมาเขาได้เข้าเรียน ต่อวิชาแบคทีเรียวิทยา ที่วิทยาลัยการแพทย์ แห่งโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ และจบการศึกษาในปี ค.ศ.1908 โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 อีกด้วย หลังจากจบการศึกษาเฟลมมิ่งได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกภูมิคุ้มกันโรค และผู้ช่วยของเซอร์แอล์มโรท เอ็ดเวิร์ด ไรท์ (Sir Edward Writhe) หัวหน้าแผนกแบคทีเรียวิทยา ที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่
ในระหว่างปี ค.ศ.1914-1918 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เฟลมมิ่งได้เข้าเป็นทหารเสนารักษ์ยศนายร้อยตรีประจำกอง ทัพตำรวจหลวง (Royal Army Corps) และในระหว่างนี้เองทำให้เฟลมมิ่งได้เห็นทหารบาดเจ็บจากการต่อสู้จำนวนมาก และ บาดแผลของทหารเหล่านี้มีอาการอักเสบ เป็นบาดทะยัก หรือไม่ก็เน่าเปื่อย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทหารต้องเสียชีวิต แพทย์ เสนารักษ์ทั้งหลายพยายามดูแลบาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งยังทำลายโฟโตไซท์ ของร่างกายอีกด้วย
เมื่อสงครามจบสิ้นลง เฟลมมิ่งได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยเซนต์แมรี่ ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่วิทยาลัยเซนต์ แมรี่ เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแบคทีเรียตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า สเตปฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคเซฟติซีเมีย (Septicemia) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียเลือด อาการของโรคจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบาดแผลมาก และทำให้ เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา เฟลมมิ่งได้เพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ลงบนจากแก้วเพื่อหาวิธีการฆ่าเชื้อโรคชนิดนี้ให้ได้ และยาฆ่าเชื้อต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขาพยายามค้นหาสารสกัดจากสิ่งต่าง ๆ หลายชนิด เช่น น้ำมูก เนื่องจากครั้งหนึ่งเฟลมมิ่งป่วยเป็นหวัด มีน้ำมูกไหล เขาคิดว่าน้ำมูกเป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงใช้น้ำมูกหยดลงในจานที่มีแบคมีเรีย ผลปรากฏว่าสามารถฆ่าเชื้อ แบคทีเรียได้ตายหมด แต่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ร้ายแรงนัก จากนั้นเฟลมมิ่งได้ทดลองนำสิ่งที่ร่างกายผลิตได้ทดลอง ต่อมาคือน้ำตา เขาใช้น้ำตา 2-3 หยด หยดลงในจานแบคทีเรีย ปรากฏว่าน้ำตาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าน้ำมูกเสียอีก แต่น้ำตาเป็นสิ่งที่หา ยากมาก เฟลมมิ่งจึงต้องหาอย่างอื่นมาทดแทน เขาพบว่าในน้ำตามีเอนไซม์ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายแบคทีเรียได้ เฟลมมิ่งได้นำเล็บ เส้นผม และผิวหนังมาทดลอง แต่เอนไซม์ที่สกัดได้มักมีผลกระทบต่อร่างกาย
ในที่สุดเขาก็ค้นพบเอนไซม์ชนิดหนึ่งในไข่ขาวชื่อว่า ไลโซไซม์ แต่การแยกไลโซไซม์บริสุทธิ์ออกมาทำให้ยากมาก อีกทั้ง เฟลมมิ่งขาดแคลนเครื่องมืออันทันสมัย คน และเวลา ดังนั้นเขาจึงเขียนบทความลงในวารสารฉบับหนึ่ง เพื่อหาเงินทุนในการ ทดลอง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเลย ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องหยุดชะงักแต่เพียงเท่านี้ แต่การทดลอง หาวิธีฆ่าเชื้อโรคของเฟลมมิ่งไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ เขาได้ทำการค้นหาวิธีอื่นที่ง่ายกว่านี้
ในปี ค.ศ.1928 เฟลมมิ่งได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาแบคทีเรีย แต่เขาก็ยังคงทำการทดลองเพื่อค้นหา วิธีฆ่าเชื้อโรคต่อไป เฟลมมิ่งได้ซื้ออุปกรณ์ชนิดใหม่สำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรีย โดยลักษณะเป็นจานแก้วใส ก้นตื้น มีฝาปิด เฟลมมิ่ง ได้ใส่พืชทะเลชนิดหนึ่งลงไปในจานทดลองที่มีแบคทีเรีย จากนั้นปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหล่นลงไป แล้วจึง นำไปเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ในการดูแลจานแบคทีเรีย เฟลมมิ่งได้มอบ ให้กับผู้ช่วยของเขา อยู่มาวันหนึ่งผู้ช่วยของเขาลืมปิดฝาจาน อีกทั้งยังตั้งทิ้งไว้บนโต๊ะใกล้กับหน้าต่างห้องทดลองอีกด้วย ปรากฏว่า มีเชื้อราสีเทาเขียวมีลักษณะคล้ายกับราที่ขึ้นบนขนมปังอยู่เต็มไปหมด เฟลมมิ่งโกรธผู้ช่วยของเขามาก แต่ถึงอย่างนั้นเฟลมมิ่งก็ไม่ได้ ทิ้งจานทดลองอันนี้ และนำมาไว้ที่มุมหนึ่งของห้อง เมื่อเฟลมมิ่งได้ทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่งอย่างละเอียดและพบว่า เชื้อราชนิดนี้ กินเชื้อแบคทีเรียนสเตปฟิโลคอกคัสได้ เฟลมมิ่งได้เริ่มเพาะเชื้อราชนิดนี้ในขวดเพาะ เมื่อเพาะชื้อราได้จำนวนมากพอ เฟลมมิ่งได้นำ เชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิด ใส่ลงในจาน แล้วนำเชื้อราใส่ลงไป ปรากฏว่าเชื้อราสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 4 ชนิด ที่เหลืออีก 2 ชนิด เป็นแบคทีเรียชนิดร้านแรงที่ทำให้เกิดโรคอย่างแอนแทรกซ์ และคอตีบ
จากนั้นเฟลมมิ่งได้สอบถามไปยังนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความรู้ทั้งหลายว่า เชื้อราชนิดนี้ชื่ออะไร ในที่สุดเขาก็ได้คำตอบว่าเชื้อรา ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเพนนิซิเลียม ชื่อว่า เพนนิซิเลียม อุมรูบรุม ต่อมาเฟลมมิ่งได้นำเชื้อราชนิดนี้มาสกัดเป็นยาชื่อว่า เพนนิซิลิน เฟลมมิ่งได้นำยาชนิดนี้มาใช้กับสัตว์ทดลอง ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี แต่เขายังไม่กล้าใช้กับคน เพราะยังไม่สามารถสกัดเพนนิซิลิน บริสุทธิ์ได้ เฟลมมิ่งได้ทดลองแยกเพนนิซิลินหลายวิธีแต่ก็ไม่สามารถแยกได้ ดังนั้นเฟลมมิ่งจึงเขียนบทความลงในวารสาร การแพทย์เล่มหนึ่ง ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจ และสามารถแยกแพนนิซิลินบริสุทธิ์ได้สำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นก็คือ โฮวาร์ด วอลเทอร์ (Howard Walter) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย
จากการค้นพบครั้งนี้ เฟลมมิ่งได้รับการยกย่องและรับมอบรางวัลจากสถาบัน และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1944 เฟลมมิ่งได้รับพระราชทานยศเป็นท่านเซอร์ และปี ค.ศ.1945 เฟลมมิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขา แพทย์ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเชน
ยาเพนนิซิลินเป็นยาที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะยาชนิดนี้สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากกว่า 80 โรค เช่น แอนแทรกซ์ คอตีบ ปอดอักเสบ บาดทะยัก และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น เฟลมมิ่งเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบ ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1955 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)