วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติและผลงานของ คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele


คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele
เกิด ค.ศ. 1742 ที่สตารล์สัน โพมีราเนีย ประเทศสวีเดิน
เสียชีวิต 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ประเทศสวีเดิน
ผลงาน - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric)
- ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine)
- ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine)
เชย์เลอร์เป็นนักเคมี 1 ใน 3 ของนักเคมีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น อีก 2 ท่าน คือ เฮนรี่ คาเวนดิช (Henry Cavendish)และโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestly) นักเคมีทั้ง 3 ค่อนข้างจะมีลักษณะงานค้นคว้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่าง ๆ กันไปตามธาตุที่ค้นพบ โดยเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่ค้นพบก๊าซไนโตรเจน และคลอรีน
เชย์เลอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1742 ที่ประเทศสวีเดิน บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่ค่อนข้างยากจนและต้องการให้เชย์เลอร์ดำเนิน
กิจการต่อ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์น้อยมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี อีกทั้งเขามีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการปรุงยาอยู่หลายปีและหลายแห่ง เช่น ที่โกเตเบิร์ก (Goteburg) มัลโม (Mulmo) สตอกโฮล์ม (Stockholm) อัปซาลา (Upsala) และโคปิง (Koping) ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมีมากขึ้น
เชย์เลอร์ทำการทดลองด้านเคมีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเขาพบก๊าซพิษ (Poisonous) ซึ่งเขาค้นพบระหว่างการทดลองทางเคมีครั้งหนึ่ง ก๊าซพิษที่ว่านี่คือ ก๊าซกรดพรัสซิค (Prussic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ กรดไซยาไนด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่มีฤทธิ์ร้านแรงมากถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิตได้แม้จะสูดดมเข้าไปเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้เชย์เลอร์ยังค้นพบสารเคมีชนิดใหม่อีกหลายชนิด เช่น กรดสารหนู (Arsenic acid) กรดออกซาลิก (Oxalic acid) กรดแลกติก (Lactic acid) ซึ่งสกัดได้จากนมเปรี้ยว ไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric acid) กรดกำยาน (Benzoic acid) กรดมาลิก (Malic acid)กรดมะนาว (Citric acid) กรดแกลลิก (Gallic acid) เป็นต้น ก๊าซที่สำคัญที่เชย์เลอร์พบมีอีกหลายชนิด ได้แก่
- ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric) เป็นกรดปูนชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์ในการทำน้ำส้ม
- ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine) มีสีเขียวปนเหลือง และมีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นสารฟอกสี และไนโตรเจน (Nitrogen)
- ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine) ใช้ประโยชน์ในการทำวัตถุระเบิด, วิธีผสมยาฆ่าเห็ดรา ซึ่งประกอบไป
ด้วยสารหนู และสารประกอบระหว่างทองแดง (Copper) เชย์เลอร์ได้ตั้งชื่อยาฆ่าเห็ดราชนิดนี้ว่า ชาเลกรีน
(Scheel's Green), พบก๊าซมีเทน (Methane) เป็นสารประกอบของไฮโดรคาร์บอน (Hydro carbon)
กับอัลเลน ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ติดไฟได้ มีประโยชน์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก, ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างไนโตรเจน และไฮโดรเจน แอมโมเนียเป็นก๊าซที่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในทาง อุตสาหกรรมไฟฟ้า และใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ อีกทั้งมีประโยชน์ในทางการแพทย์
จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาในปี ค.ศ. 1775 เชย์เลอร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งเมืองสตอกโฮม (Stockholm Academy of Science) และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
เชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่มีความพยายาม เขาสามารถค้นพบสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากมายเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม
ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 44 ปี เท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำเป็นมั้ยที่จะต้องมีนักวิทยาศาสตร์