นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประวัติและผลงานของ กูกลิเอลโม มาร์โคนี : Guglielmo Marcony
กูกลิเอลโม มาร์โคนี : Guglielmo Marcony
เกิด วันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1874 ที่เมืองโบโลญญา (Bologna) ประเทศอิตาลี (Italy)
เสียชีวิต วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม (Rome) ประเทศอิตาลี (Italy)
ผลงาน - ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข
- ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1907 จากผลงานการค้นคว้าวิทยุ
วิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดชนิดหนึ่ง อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เนื่องจากวิทยุโทรเลขไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรเลขในการเชื่อมโยงเครื่องโทรเลขจากเครื่องหนึ่งถึงเครื่องหนึ่ง และที่มีประโยชน์อย่างมากก็คือใช้ในกิจการเดินเรือ ที่สามารถส่งข่าวสารต่าง ๆ จากเรือมาสู่บนฝั่งได้ วิทยุสื่อสารชิ้นนี้ยังมีประโยชน์และบทบาทอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่กองทัพได้ไปใช้ในการส่งข่าวสารจากที่ที่ห่างไกลกันมากได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย
มาร์โคนีเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1874 ที่เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ในตระกูลที่ร่ำรวย บิดาของเขาชื่อว่า กีเซป มาร์โคนี ส่วนมารดาของเขาชื่อว่า แอนนี เจมส์สัน มาร์โคนีมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งบิดาของเขาก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และได้จ้างครูมาสอนวิชาไฟฟ้าให้กับมาร์โคนีอีกด้วย เขาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนประจำเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคเล็กฮอร์น นอกจากการศึกษาภายในโรงเรียนแล้ว เขายังได้ศึกษาตำราไฟฟ้าของนักฟิสิกส์ชาวสก๊อต เจมส์ คลาร์ก แมกเวล (James Clark Maxwell) ผลงานของแมกเวล มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มาร์โคนีมีความสนใจในวิชาฟิสิกส์ อีกทั้งเขาได้ขอร้องบิดาให้จ้างครูมาสอนวิชาฟิสิกส์ ให้กับเขาที่บ้านอีกด้วย ซึ่งบิดาก็ได้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเขา นอกจากนี้เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอีเทอร์ที่เป็นตัวกลางให้คลื่นแห่ง เหล็กไฟฟ้าเดินทมงจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้
ในปี ค.ศ.1894 มาร์โคนีได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวที่เทือกเขาแอลป์ในประเทศอิตาลีนั่นเอง เขาได้มีโอกาสได้อ่านวารสารทางวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่ง หนังสือเล่มนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1886 ของไฮน์ริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Hirich Rudolph Hertz) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประกอบกับการมีความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอย่างดี จากอาจารย์สอนพิเศษของเขาหลายท่าน ทำให้มาร์โคนีเกิดความคิดว่าคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าน่าจะมีประโยชน์ในการส่งสัญญาณโทรเลข โดยไม่ต้องอาศัยสายโทรเลขในการส่งสัญญาณ
ต่อมาในปี ค.ศ.1895 เมื่อมาร์โคนีเดินทางกลับจากการท่องเที่ยว เขาได้เริ่มต้นการค้นคว้าทดลองเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยสิ่งประดิษฐ์ทางไฟฟ้าชิ้นแรกของมาร์โคนี คือ กริ่งไฟฟ้าไร้สาย โดยเขาได้ติดตั้งกริ่งไว้ที่ชั้นล่าง ส่วนสวิตช์ไว้ชั้นบนของบ้าน เมื่อกดสวิตช์ที่อยู่นั้นบนกริ่งที่อยู่ชั้นล่างกลับดังขึ้น ทั้งที่ไม่มีสายไฟเชื่อมต่อระหว่างสวิตช์และกริ่ง จากนั้นมาร์โคนีได้นำกระดิ่งออกไปไว้กลางครามและกดสวิตช์ ภายในบ้านกริ่งก็ดังขึ้นอีก สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้อาศัยหลักการของเอดูร์ บรองลีนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งประดิษฐ์เครื่องรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเครื่องรับสัญญาณประกอบไปด้วยหลอดแก้ว ซึ่งภายในบรรจุผงโลหะสำหรับเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนเครื่องส่งมาร์โคนีอาศัยหลักการจากเครื่องส่งของเฮิรตซ์ บิดาของมาร์โคนีชอบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มาก และได้มอบเงินให้กับมาร์โคนีถึง 250 ปอนด์
จากความสำเร็จในการสร้างกริ่งไฟฟ้าไร้สาย มาร์โคนีจึงทำการประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโทรเลขขึ้นในปี ค.ศ.1897และทำการทดลองส่งวิทยุโทรเลขไร้สาย จากความช่วยเหลือของพี่ชายของเขา แอลฟอนโซ มาร์โคนี ให้พี่ชายคอยรับฟัง สัญญาณอยู่ที่บ้าน จากนั้นมาร์โคนีได้เดินห่างจากบ้านไปประมาณ 1 ไมล์ แล้วส่งสัญญาณโทรเลขเข้ามา เขาได้ตกลงกับพี่ชายว่าถ้าได้รับสัญญาณให้ยกธงขึ้น เมื่อทดสอบระยะทาง 1 ไมล์ เป็นผลสำเร็จ มาร์โคนีได้ปรับปรุงวิทยุโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถส่งได้ระยะไกลกว่าเดิม และได้ทดสอบส่งสัญญาณผ่านภูเขาปรากฏว่าสัญญาณจากวิทยุสามารถส่งผ่านภูเขามาได้
ในเวลาต่อมามาร์โคนีได้นำผลงานของเขาชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอิตาลี แต่ทางรัฐบาลไม่สนใจและเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นในปี ค.ศ.1896 เขาและมารดาจึงได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อนำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ เมื่อมาถึงประเทศอังกฤษมาร์โคนีต้องได้รับความลำบากเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจค้นกระเป๋าของเขาอย่างละเอียด อีกทั้งเมื่อเจ้าหน้าที่พบวิทยุโทรเลข เกิดเข้าใจผิดว่าเป็นอาวุธสงคราม ทำให้วิทยุโทรเลขได้รับความเสียหาย มาร์โคนีได้นำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อซอร์ วิลเลี่ยม พรีซ (Sir William Preze) นายช่างเอกแห่งกรมไปรษณีย์โทรเลขแห่งอังกฤษ และท่านผู้นี้เองที่ให้การสนับสนุนมาร์โคนีในเรื่องของห้องทดลอง เป็นผู้ช่วยสำปรับปรุงวิทยุโทรเลข อีกทั้งได้มอบโอกาสให้กับเขาในการสาธิตวิทยุโทรเลขให้กับรัฐบาลอังกฤษได้ชม โดยการทดลองส่งสัญญาณจากโต๊ะหนึ่ง เพื่อให้กริ่งอีกโต๊ะหนึ่งดัง เมื่อทุกคนได้ยินกริ่งดังต่างก็ตื่นเต้น ในผลงานชิ้นนี้ และรับผลงานของมาร์ดคนีไว้ในการสนับสนุน ต่อมามาร์โคนีได้ทำการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขจากอาคารไปรษณีย์โทรเลข ไปยังอาคารของธนาคารออมสิน ซึ่งห่างประมาณ 2 ไมล์ ผลการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ว่าการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขในช่วงแรกของมาร์โคนีส่งได้เพียงรหัสมอร์สเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าวิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากนั้นเขาได้พัฒนาวิทยุโทรเลขของเขาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1897 วิทยุโทรเลขของมาร์โคนีสามารถส่งสัญญาณผ่านช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลประเทศอิตารลีที่เคยปฏิเสธเขามาก่อนก็หันมาให้ความสนใจและเห็นคุณค่าในความสามารถของมาร์โคนี อีกทั้งทางรัฐบาลอิตาลีได้เชิญให้มาร์โคนีกลับไปยังประเทศอิตาลี มาร์โคนีปฏิบัติตามคำเชิญของทางรัฐบาล เมื่อเขาเดินทางถึงประเทศอิตาลีเขาได้แสดงการส่งสัญญาณจากบนฝั่งไปยังเรือที่อยู่ห่างจากชายฝั่งถึง 12 ไมล์ หลังจากนั้นมาร์โคนีได้เดินทางกลับไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปิดบริษัทวิทยุโทรเลข โดยใช้ชื่อว่าบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนี (Marcony's Wireless Telegraph Company Limit) กิจการส่งวิทยุโทรเลขของเขามีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ เพราะทั้งกิจการเดินเรือทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเรือรบ เรือเดินสมุทรและหอประภาคารซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเดินเรือ ต่างก็ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในปี ค.ศ.1901 มาร์โคนีได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตั้งสถานีรับส่งสัญญาณโทรเลข จากนั้นในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ.1901 ได้ทำการส่งสัญญาณจากสถานีที่ประเทศอังกฤษมายังประเทศสหรัฐอเมริกา รวมระยะทางถึง 3,000 ไมล์ แม้ว่าการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่มีความทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น แต่ก็ส่งสัญญาได้เพียงรหัสมอร์สเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1906 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เรจินาลย์ เฟสเซนเดน สามารถพบวิธีแปลงสัญญาณวิทยุโทรเลขให้เปลี่ยนเป็นเสียงได้สำเร็จ และมีการทดลองส่งสัญญาณเสียงครั้งแรกของโลกในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.1906 แม้ว่ามาร์โคนีจะไม่ใช่ผู้ค้นพบ แต่เขาก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงให้มีความเจริญก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1909 มาร์โคนีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน โดยมาร์โคนีได้รับจากผลงานการประดิษฐ์วิทยุโทรเลข ส่วนบราวน์ได้รับจากการปรับปรุงเทคโนโลยีการกระจายเสียง และในปีเดียวกันนี้มาร์โคนีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิก มาร์โคนีเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับเกียรติจากรัฐบาลอิตาลีอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากในปี ค.ศ.1912 มาร์โคนีได้เป็นตัวแทนรัฐบาลอิตาลีในการเซ็นสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส และในปี ค.ศ.1929 เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส จากพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอล และยศท่านเซอร์จากพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษ (King George V of England) เนื่องจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้ติดตั้งสัญญาณวิทยุโทรเลขให้กับกองทัพเรือของอังกฤษ
มาร์โคนีได้พยายามพัฒนากิจการวิทยุให้มีความเจริญมากขั้น ในปี ค.ศ.1917 ได้ออกเดินทางโดยเรือยอร์ชส่วนตัวที่เขาตั้งชื่อว่า อิเลคตรา (Electra) และได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กลางทะเล ต่อมาอีก 2 ปี มาร์โคนีได้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่เชล์มฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของโลกที่ทำการกระจายเสียงอย่างเป็นรูปแบบกิจการวิทยุโทรเลขและการกระจายเสียงมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถส่งสัญญาณไปยังที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกมาร์โคนีเสียชีวิตในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาสถานีวิทยุกระจายเสียงได้หยุดการกระจายเสียงเป็นเวลา 2 นาที ในช่วงบั้นปลายชีวิตของมาร์โคนีเขาได้ค้นพบคลื่นวิทยุสั้น ๆ ที่สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลเป็นผลสำเร็จคลื่นวิทยุชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วิทยุคลื่นสั้น
ในปัจจุบัน กิจการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียงที่ใช้เป็นสื่อทางด้านความบันเทิง และการส่งข่าวสารต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ การสื่อสารของยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เช่น เรือโดยสาร เรือเดินทะเล เครื่องบิน ยานอวกาศ เป็นต้น หรือแม้กระทั่ง การติดต่อสื่อสารระหว่างคน 2 คน ก็ล้วนแต่มีความสำคัญและได้รับประโยชน์จากเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ ว&ท
:http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Nicolaus%20Copernicus.html
เว็บไซด์อ้างอิง:ประวัติและผลงานนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก.
,http://www.rmutphysics.com/CHARUD/specialnews/2/scientist/scientist2/cony.htm. 4 ก.ค.53. 18.10 น.
วัดวิโรจนาราม ต.ปากหมาก อ.ไชยา สฎ
ป้ายกำกับ:
วันหยุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่จำเป็นนะ
ตอบลบ